การลงทุนทำธุรกิจสปาในนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • จารุปัฐน์ สุรไวยโรจน์
  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

สปา, เวียงจันทน์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการลงทุนทำธุรกิจสปาในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) แก้ โดยการสัมภาษณ์ เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจสปาในนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและผู้เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 14 คน และผู้วิจัยได้นำเอาผลของการวิจัยไปทำการประชุมเผชิญหน้า (Focus group) เพื่อตรวจสอบ ความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือของข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า สภาพทั่วไปของการลงทุนทำธุรกิจสปาในนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว 1) ลักษณะของธุรกิจร้านสปาที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว เปิดร้านสปา 2 แบบ อันดับที่ 1 แบบ Day และแบบ Hotel & resort spa เป็นอันดับที่ 2 2 ) ระยะเวลาในการดำเนิน กิจการอยู่ในช่วงระหว่าง 1-3 ปี 3) สถานที่เปิดร้านที่เจ้าของร้านทำการเช่าเพื่อเปิดร้านมาเป็นอันดับที่ 1 และสถานที่เปิด ร้านที่เจ้าของร้านเป็นเจ้าของสถานที่ เป็นอันดับที่ 2 4) กลุ่มของลูกค้าที่มาใช้บริการในร้านสปา อันดับที่ 1 กลุ่มลูกค้า ที่เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และกลุ่มคนทำงานในนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นอันดับที่ 2 5) เมนูสปาที่ร้านสปานิยมนำมาเสนอเป็นเมนูให้ลูกค้าเลือกใช้บริการมากที่สุด 5 เมนู อันดับที่ 1 นวดเท้า อันดับที่ 2 นวดแผนโบราณลาว อันดับที่ 3นวดน้ำมัน อันดับที่ 4 นวดปะคบและอันดับที่ 5 ขัดผิว 6) สื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่ร้านสปาใช้ อันดับที่ 1 พนักงานประจำร้านสปาเป็นผู้ให้ข้อมูลภายในร้านและประชาสัมพันธ์ด้วยใบปลิว อันดับที่ 2 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และอันดับที่ 3 สื่อออนไลน์ 7) การจัดทำโปรโมชั่นของร้านสปา อันดับที่ 1 สมัครสมาชิก รายปี มาเป็นอันดับที่ 2 บัตรส่วนลดและขายกับบริษัทขายทัวร์ออนไลท์ และอันดับที่ 3 ขายเมนูสปารวมกับห้องพัก 8) พนักงานจะถูกแบ่งตามแผนกได้ 3 แผนก คือ ผู้จัดการร้าน พนักงานต้อนรับและพนักงานนวดสปา โดยจำนวนพนักงาน จะสัมพันธ์กับขนาดของร้านสปา 9) วิธีการรับสมัครพนักงานในทุกตำแหน่งงาน อันดับที่ 1 ติดป้ายรับสมัครงานหน้าร้าน อันดับที่ 2 พนักงานภายในร้านเป็นผู้แนะนำและประกาศรับสมัครทางโทรทัศน์ เป็นอันดับที่ 3 ปัญหาของการลงทุนทำธุรกิจสปาในนครหลวงเวียงจันทน์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันดับที่ 1 ขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านการนวดสปา อันดับที่ 2 มี 2 ปัญหาด้วยกัน คือ อัตราค่าจ้างที่สูงขึ้น เพราะเกิดการแข่งขันเรื่องค่าแรงจากผู้ประกอบการที่ต้องการพนักงานที่มีฝีมือก็จะมีการจ้างที่สูงกว่าที่แรงงานเคย ได้ทำให้พนักงานเข้า ออก อยู่เป็นประจำและเกิดการไม่ต่อเนื่องในการให้บริการลูกค้าและมีการแข่งขันด้านการตลาดเพิ่มขึ้น เพราะลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น อันดับที่ 3 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐค่อนข้างใช้เวลานาน มีขั้นตอนข่อนข้างมาก ล้าช้าและค่าใช้จ่ายสูง อันดับที่ 4 รัฐบาลลาวไม่อนุญาตให้มีการลงทุนทำธุรกิจสปาในนครหลวงเวียงจันทน์ อันดับที่ 5 ธนาคารในนครหลวงเวียงจันทน์มีนโยบายส่งเสริมธุรกิจสปาในนครหลวงเวียงจันทน์This study attempts to study condition and problems of the investment in Spa business in Vientiane Capital, Laos PDR. This qualitative research study applied in-depth interview to collect the data from 14 Spa business entrepreneurs and related persons in Vientiane Capital, Laos PDR. The results of the study were brought in focus group meeting to evaluate the validity and the reliability. The findings on the general conditions of the investment in Spa business in Vientiane Capital, Laos PDR reveal that 1) there were two types of spa business operating in Vientiane Capital, Laos PDR: Type 1: Day Spa, and Type 2: Hotel & Resort Spa; 2) the length to operate the business was the range of one to three years; 3) most of the entrepreneurs (first rank) hired the location to do spa business and then the others (second rank) owned the location to do spa business; 4) The first-rank customers of the business were foreigners and the second-rank customers were workers in Vientiane Capital, Laos PDR; 5) The top five spa program offering to customers were (1) foot massage, (2) Lao traditional massage, (3) oil massage, (4) steam massage, and (5) body scrub; 6) For advertising media, the first top media was the use of staff in spa shop to inform the promotions to their customers and the second-rank media was the use of local media whereas the third-rank media was online media; 7) The first top campaign of spa shop was the subscription of yearly member, the second ranks were the reduction and the selling to online tour agent, and the third rank went to the combined selling of spa program and hotel room; 8) The staff could be divided into three divisions: shop manager, receptionists and spa massagers. The number of staff correlated to the size of the ship and; 9) Placing the job vacancy at the front of the shop was the first-top mean to apply to the job position whilst the second-rank mean was the use of staff to suggest person to apply for the job and the third-top rank was the use of TV advertising. The problems in investing to spa business in Vientiane Capital, Laos PDR were 1) The lack of staff who had skill and expert in spa massage, 2) The wage was higher due to the high competition from other entrepreneurs who also need skilled massagers. This leads to the labor to be in and out from the hire frequently and the discontinuity to serve customers. Also, it increased competition in the market as the customers had more alternatives; 3) The cooperation with the state officers took quite a long time. There were complicated processes and leaded to the delay and high expenses; 4) Laotian government did not allow for investing in spa business in Vientiane Capital, Laos PDR and; 5) Banks Vientiane Capital, Laos PDR had the policy to support spa business Vientiane Capital, Laos PDR.

Downloads