อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การต่อความพึงพอใจในการทำงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการ

Authors

  • พงษ์สันติ์ ตันหยง
  • จิดาภา ถิรศิริกุล
  • นพพร จันทรนำชู

Keywords:

การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ความพึงพอใจในการทำงาน, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการ, พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับ การสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในการทำงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการและ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การต่อความพึงพอใจ ในการทำงานและประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยใช้ การวิจัยแบบผสมซึ่งใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและการวิจัยเชิงคุณภาพมาช่วยสนับสนุนอธิบายผลการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณคือ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 682 คน เก็บตัวอย่างด้วย วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ คือ พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและใช้สถิติโมเดลสมการโครงสร้างในการทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์เส้นทางและเสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการพบว่า การรับรู้การสนับสนุน จากองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการผ่านความพึงพอใจในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ความพึงพอใจในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2 ) ของสมการโครงสร้างพบว่าตัวแปรอิสระ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และ ความพึงพอใจในการทำงานสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการปฏิบัติงานทางวิชาการ ได้ร้อยละ 38This objectives of this research were 1) to study the level of effectiveness of academic performance and 2) to study effects of perceived organizational support on job satisfaction and effectiveness of academic performance of academic staff at Rajabhat University. This research employed mix method by using Quantitative research as a major methodology. The 682 questionnaires were collected from 18 Rajabhat Universities in Thailand and 8 persons by in-depth interview techniques. The statistical techniques were utilized to analyze data included descriptive statistical and Structural Equation Model statistical used to test hypothesis and analyze path analysis. There was supplemented with qualitative data to describe quantitative results. The research found that The effectiveness of academic performance average is moderate. Perceived organizational support at a high level, and Job satisfaction at a high level. Perceived organizational support had indirect effect on effectiveness of academic performance through job satisfaction with statistical significance. Job satisfaction had a direct effect on the effectiveness of academic performance with statistical significance. The coefficient prediction (R2 ) of Structural Equation Model were found that perceived organizational support. and job satisfaction together can significantly predict academic performance effectiveness were 38 percents.

Downloads