นโยบายการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ภาคตะวันออกประเทศไทย

Authors

  • พชระ แซ่โง้ว
  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

นโยบายการใช้หุ่นยนต์, อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, แรงงาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกณฑ์ที่เหมาะสมในการพิจารณานำหุ่นยนต์มาแทนที่แรงงาน ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยใช้วิจัยแบบเชิงคุณภาพเทคนิคการวิจัย เชิงอนาคตแบบ EDFR กลุ่ม ตัวอย่างใช้วิธีเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ นักวิชาการหุ่นยนต์ ด้านผู้ใช้งานหุ่นยนต์ ผู้พัฒนาระบบการใช้หุ่นยนต์ และภาครัฐ รวมจำนวนผู้เชี่ยวชาญ 30 คน ยืนยันผลด้วยและการ สนทนากลุ่ม (Focus group) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ผลจากการศึกษา พบว่า มี 3 เกณฑ์หลัก 1) เกณฑ์คุณลักษณะ ประกอบด้วย ค่าตอบแทนแรงงาน การแข่งขันทางธุรกิจ การขาดแคลนแรงงาน ธรรมมาภิบาล/ จริยธรรม การศึกษาของ แรงงาน เทคโนโลยีการผลิต การเพิ่มผลผลิต ความแม่นยำ ความปลอดภัย ทักษะของแรงงาน ต้นทุนการผลิต คุณภาพ สินค้า ผลตอบแทนการลงทุน หุ่นยนต์มือสองจากต่างประเทศ ความทนทานในการใช้งาน หุ่นยนต์ที่ผลิตในประเทศ 2) เกณฑ์การใช้งาน (กิจกรรม) ประกอบด้วย การป้อนวัสดุเข้า-ออกจากเครื่องจักร การลำเลียงวัสดุ การเชื่อม การประกอบ การปรับแต่งขนาด การพ่นสี การตรวจสอบคุณภาพและการบรรจุภัณฑ์ และ 3) เกณฑ์อัตราการทดแทนแรงงาน ประกอบ ด้วยการป้อนวัสดุเข้า-ออกจากเครื่องจักร หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 1 คนขึ้นไป การลำเลียงวัสดุ การเชื่อม การประกอบ การปรับแต่งขนาดหุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 2-3 คนขึ้นไป การพ่นสี การตรวจสอบคุณภาพ หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 3 คนขึ้นไป และการบรรจุภัณฑ์หุ่นยนต์ 1 ตัว แทนที่แรงงานได้ 1 คนขึ้นไปThe research had objective to study criteria suitable for using robot in automotive parts manufacturing industry. In this qualitative research, future research technique of Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) was used. Purposive sampling was also employed to select 30 people from the sample group consisting of specialists who had direct experience in human resource, robotics scholars, robotics users, robotics developers, and the public sector because they could confirm the results and there were seven samples in the focus group. The findings revealed that there were three criteria to consider: 1) criterion on features which included workers’ compensation, business competition, labor shortage, good governance / ethics, workers’ education, manufacturing technology, increase of productivity, accuracy, safety, workforce skills. production costs, product quality, return of investment, used robots from abroad, durability of robots, robots made in Thailand; 2) the utility criteria (activities) consisting of feeding in - out the machine, conveying materials, welding, assembling, customizing the size, color spraying, quality inspection and packaging; and 3) the rate of replacement of workers : for feeding in-out material – the first robot could replace one or more than one worker; for conveying materials, welding, assembling, or modifying the size, one robot could replace 2-3 workers; for color spraying, quality inspection, one robot could replace more than 3 workers; and for packaging, one robot could replace more than one worker.

Downloads