การบริหารการจัดการธุรกิจบริการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางธุรกิจ เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Authors

  • โรจนศักดิ แสงธศิริวิไล

Keywords:

รัฐบาล, ภาครัฐ, ภาคเอกชน

Abstract

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการส่งผลต่อความพึงพอใจ ศึกษาความสำเร็จธุรกิจบริการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ และนำเสนอการพัฒนาการบริหารการจัดการธุรกิจบริการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันทางธุรกิจเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 คน และ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ จำนวน 24 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคทางสถิติ          การวิจัยพบว่าด้านการบริหารจัดการธุรกิจบริการดูแลสุภาพสำหรับผู้สูงอายุ ควรมีความเสมอภาคของการให้บริการ และมาตรฐานการให้บริการที่ดี พื้นที่ใช้สอยมีการออกแบบอาคารให้สอดคล้องกับสรีระและข้อจำกัดทางกายภาพของผู้สูงอายุ มีระบบสำรองเครื่องมือและวัสดุที่จำเป็นพร้อมที่จะใช้ในการให้บริการตลอดเวลา มีความชัดเจน ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานก่อนการรับบริการ และการประเมินและวางแผนการบำบัดรักษาเป็นระยะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ และการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพโดยการวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของสูงอายุ          ด้านความสำเร็จธุรกิจบริการดูแลสุภาพสำหรับผู้สูงอายุ การวิจัยพบว่าควรมีมาตรฐานในการให้บริการ ให้คำแนะนำขั้นตอนการใช้บริการและข้อจำกัดต่างๆ สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย และการเก็บรักษาข้อมูลผู้ใช้บริการ ดูแลเอาใจใส่การให้บริการผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพูดคุยและพบปะกับครอบครัว ผู้วิจัยขอเสนอแนะโมเดลการขับเคลื่อนทางธุรกิจที่ได้จากการศึกษาผลวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่เรียกว่า “บ้านพักผ่อนหย่อนใจ” ซึ่งหมายถึงบ้านพักผ่อนหย่อนใจที่ดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ที่มาใช้บริการให้มีความสุขกายสุขใจ ที่ได้รับการดูแลจาก พยาบาลวิชาชีพ และบริการระดับมาตรฐาน มีความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวก บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญในการดูแล มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจในบริการ          In this research investigation, the researcher studies the effects of management on satisfaction and the success of the health care service business for the elderly in Bangkok Metropolis and its environs. The researcher also frames proposals for developing the management of the health care business for the elderly such that its competitive business capabilities are increased. Combining quantitative and qualitative research methods in two phases of research, quantitative methods were used in collecting germane data from a sample population of 350 subjects and relevant qualitative data from 24 business operators. In the quantitative phase, the data collected were statistically analyzed. In the qualitative phase, the researcher employed a questionnaire and interviews as research instruments. Findings are as follows: The management of the health care service business for the elderly should provide equal services for all service receivers. The service standards should be good. The areas in which services are rendered should correspond to the bodies and physical limitations of the elderly. Spare sets of equipment and other necessary materials should be held in reserve so as to be ready to dispense services at all times. Clear guidelines for work performance must be provided in advance of providing services. Periodic evaluation and planning of treatment must be carried out so as to be responsive to the health problem needs of the elderly. Quality activities should be carried out on the basis of analyses of the needs and expectations of the elderly. In regard to the success of the health care service business for the elderly, it was found that there should be service standards. The steps in dispensing the services and concurrent limitations should be explicitly recommended for specific facilities and safeguards maintained. Information concerning service users should be kept on hand. Close heed must be paid to providing services for the elderly. The elderly should be afforded opportunities to converse and meet with their families. The researcher would like to recommend a business mobilizing model derived from the quantitative and qualitative research results of this investigation. The model shall be called “A Home for Relaxation.” This means a home in which the elderly’s health conditions are taken care of in a fashion such that they are physically and spiritually content in view of adherence to standards and the ministrations of professional nurses. They must be properly cared for, safeguarded, and provided with adequate facilities. The personnel employed must be knowledgeable, capable, have skills as caretakers, and have good human relations with others. If so, the services shall prove reliable and thereby they shall instill trust in the services dispensed.

Downloads