การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนการเลี้ยงไก่ในระบบคอมพาร์ทเม้นทาไลเซชั่น
Keywords:
จุดคุ้มทุน, การเลี้ยงไก่, ระบบคอมพาร์ทเม้นทาไลเซชั่นAbstract
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การประเมินฟาร์มสัตว์ปีกเพื่อเข้าสู่ระบบคอมพาร์ทเม้นทาไลเซชั่น (Compartmentalization systems) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ศึกษาความคุ้มทุนในการนำระบบมาใช้ในการเลี้ยงไก่ และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วยผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของฟาร์ม จำนวน 1,001 ฟาร์ม การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ต้นทุน-ปริมาณ-กำไรเป็นสูตรในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนการเลี้ยงไก่ต่อตัวของฟาร์มแต่ละขนาดมีความแตกต่างกัน โดยฟาร์มขนาดกลางมีโครงสร้างต้นทุนรวมสูงสุด และฟาร์มขนาดเล็กมีต้นทุนรวมต่ำสุด การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน พบว่า จุดคุ้มทุนของฟาร์มขนาดเล็กมีความใกล้เคียงกับฟาร์มขนาดใหญ่ โดยฟาร์มขนาดกลางมีจุดคุ้มทุนสูงกว่าฟาร์มขนาดใหญ่และขนาดเล็ก การศึกษาครั้งนี้ได้วิเคราะห์ความน่าจะเป็นในแต่ละระดับกำไรของฟาร์มแต่ละขนาด ซึ่งพบว่าโอกาสที่ฟาร์มขนาดใหญ่จะเพิ่มกำไรเป็นไปได้ยาก ในขณะที่ฟาร์มขนาดเล็กมีโอกาสการเพิ่มกำไรสูงสุด ทั้งนี้ผู้วิจัยเห็นว่าผลของการวิเคราะห์ข้อมูลชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า ฟาร์มขนาดใหญ่มีการจัดการที่ดีและได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่เต็มที่แล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะเพิ่มกำไรนั้นเป็นไปได้ยาก ในทางตรงกันข้ามฟาร์มขนาดเล็กมีต้นทุนที่แอบแฝงอยู่ โดยเฉพาะค่าแรงงาน ศักยภาพในการเพิ่มกำไรยังเป็นไปได้ อย่างไรก็ตามการเพิ่มกำไรคงกระทำได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ปัญหาและอุปสรรคของการประกอบกิจการฟาร์มไก่เนื้อที่สำคัญที่สุด คือ เงินลงทุนเริ่มต้นของการซื้ออุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงไก่รวมทั้งสภาพการที่ต้องประสบปัญหาไข้หวัดนก และส่วนใหญ่ฟาร์มที่เข้าระบบคอมพาร์ทเม้นทาไลเซชั่นเป็นฟาร์มที่รับจ้างเลี้ยงไก่ภายใต้สัญญาของบริษัทผู้ว่าจ้าง ทำให้ผู้ว่าจ้างลดจำนวนการเลี้ยงไก่ของเกษตรกร และเกษตรกรต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในการเลี้ยงไก่ This study is a part of the research titled “Evaluation of Poultry for transitional process to Compartmentalisation system” and aim to investigate break even of treating boilers in Compartmentalization systems. Also, the study surveys the problems and obstacles in farming in the systems. The samples include 1,001 farm owners. The analysis employs Costs-Volume-Profit (CVP) concept in finding out break even. The results point out costs per unit of farming chicken in each farm size is different. Costs per head of medium farms are highest, while small farms are lowest. The break even analysis shows that break even of small and large farms are quite similar. On the other hand, medium farms incur break even highest. The study also investigate further of the probability of different profit level in each farm. It is found that the probability of large farms to increase their profit is less likely happen, while small farms have highest probability. The authors believe that large farms manage their resources in full capacity; therefore, the possibility of increase their profit is less likely. Meanwhile, hidden costs like labor costs in small farms are not recorded; therefore, it provides the potential to increase their profit, but in only certain level. Problems and obstacles of operating farms include lack of initial capital, high equipment costs, avian influenza, and uncertainty from investors to set chicken quota to farmers.Downloads
Issue
Section
Articles