Talent Retention: กรณีศึกษากลุ่มผู้บริหาร บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน)

Authors

  • สุภาพร ทรงสุจริตกุล
  • สุภัทรา ชัยกิจ
  • ปณัฐพันธ์ สันติรัตตกุล
  • กังวาน ยอดวิศิษฎ์ศักดิ์

Keywords:

การรักษาคนเก่ง, ค่าตอบแทน, , การพัฒนาสายอาชีพ, ความผูกพันของพนักงาน, ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษาคนเก่ง (Talent Retention) กรณีศึกษากลุ่มผู้บริหารบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรักษา Talent ให้กับองค์การซึ่งใช้การวิจัยในเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูล 2 ประเภท คือ 1. การศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากเอกสารต่าง ๆ เพื่อศึกษารายละเอียดเบื้องต้นและนำมาตั้งคำถามในการสัมภาษณ์ 2. การสัมภาษณ์รายบุคคล เพื่อให้เห็นประเด็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 12 คน เป็นฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ 1 คน ผู้บริหารสายงาน 4 คน และ Talent ในระดับผู้บริหาร 7 คน จากการศึกษาพบว่า บริษัทฯ มีนโยบายในการบริหาร Talent โดยอยู่ในระหว่างการเตรียมประกาศอย่างเป็นทางการเพื่อให้ผู้บริหารสายงานรับทราบ ดังนั้นในขณะนี้การบริการ Talent จึงใช้วิธีการให้ผู้อำนวยการและผู้บริหาร สายงานแต่ละแผนกบริหารตามความเหมาะสมโดยยึดหลักการบริหารแบบบ้านหลังที่ 2 เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีวิธีการทำงาน ลักษณะงาน และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนการบริหาร Talent ของผู้บริหารสายงานแต่ละหน่วยงาน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรักษา Talent นั้นผลการศึกษาพบว่าได้แก่ 1) ปัจจัยด้านค่าตอบแทนที่ไม่เป็นตัวเงิน ในส่วนของสภาพแวดล้อมของการทำงาน และงาน 2) ปัจจัยด้านการพัฒนาสายอาชีพ ในส่วนของการประเมินความสามารถของพนักงานรายบุคคล และการจัดทำแผนฝึกอบรมและพัฒนารายบุคคล 3) ปัจจัยด้านความยึดมั่นผูกพันของพนักงาน ในส่วนของสภาพแวดล้อมของการทำงาน และลักษณะงาน 4) ปัจจัยด้านค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน           This paper aims at explaining factors affecting talent retention. True Vision (Public) Company Limited (TRUE) was selected as a case study. Qualitative research techniques were used for research design and data analysis. The literature on talent retention was reviewed in order to formulate valid the questions. The in-depth interviews with 12 members of staff including 1 human resource executive, 4 functional executives, and 7 talents were carried out.          The result of the interviews with executives revealed that TRUE was in the process of preparing its talent policy; however, the formal announcement of this policy had not been made. Prior to this announcement, TRUE top executives had delegated its talent retention authority to the functional executives. Since the nature of their works was different, each functional executive had to employ different techniques to retain their staff. In conclusion, 4 factors affecting talent retention including non-financial compensation, career development, employee engagement and financial compensation were determined.

Downloads