อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรู้สมรรถนะของตนเองที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ณัฐวรา ปุณยวิทิตโรจน์
  • จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนขององค์การการรับรู้สมรรถนะของตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทแห่งหนึ่ง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดชลบุรี และ 2) วิเคราะห์อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนขององค์การและการรับรู้สมรรถนะของตนเองที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานร้อยละ จำนวนความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการเปรียบเทียบเชิงซ้อน โดยใช้โมเดลการวิเคราะห์เส้นทาง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม AMOS  ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานระดับการรับรู้ถึงการสนับสนุนขององค์การและรับรู้ถึงสมรรถนะของตนเองในระดับมาก พนักงานมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และระดับผลการปฏิบัติงานในระดับมาก 2) โมเดลสมการโครงสร้างของการรับรู้การสนับสนุนขององค์การและการรับรู้สมรรถนะของตนเองของพนักงานที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรับรู้สมรรถนะของตนเอง มีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของพนักงาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เชิงวิถี เท่ากับ 0.80 และ 0.28 ตามลำดับ ด้านการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและการรับรู้สมรรถนะของตนเอง มีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ด้วยค่าสัมประสิทธิ์เชิงวิถี เท่ากับ 0.56 และ 0.19 ตามลาดับ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีอิทธิพลทางบวกโดยตรงต่อผลการปฏิบัติงาน เท่ากับ 0.31 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001  The objectives of this study were 1) to study the level of perceived organizational support and self-efficacy on achievement motivation and performance of employees of a company in automotive industry, Chon Buri province 2) to analyze the influence of perceived organizational support and self-efficacy on achievement motivation and performance of employees. The samples of this study were 400 employees of a company in automotive industry, Chon Buri province. The statistics used for data analysis included percentage, frequency, mean and standard deviation. Path analysis and Structural Equation Model (SEM) were used for data analysis with the AMOS program.  The results revealed that 1) the level of perceived organizational support, self-efficacy achievement motivation, and performance of the employees overall, all aspects were at a high level. 2) the causal relationship model was valid and well fitted to empirical data. The linear structural relationship in terms of perceived organizational support and self-efficacy had a positive direct effect on achievement motivation with path coefficient of 0.80 and 0.28 respectively, whereas perceived organizational support and self-efficacy had positive influence on performance with path coefficient of 0.56 and 0.19 respectively. Achievement motivation had a positive direct effect on performance with path coefficient of 0.31 at a significance level of 0.001.

Downloads

Published

2022-11-24