ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้า บริเวณท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

Authors

  • คณินศักดิ์ จันทร์ประสิทธิ์
  • กัลยา วัฒยากร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของ คนประจำเรือลำเลียงสินค้าที่ท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้า ได้แก่ การรับสื่อข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ตอบแบบสอบถาม 400 คน ใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05    ผลการศึกษาพบว่า คนประจำเรือลำเลียงสินค้าส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35-40 ปี ร้อยละ 51 มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 6-15 ปี ร้อยละ 64.75 มีรายได้ 20,001-25,000 บาท ขึ้นไป ร้อยละ 72.75 และคนประจำเรือลำเลียงสินค้าส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คนประจำเรือลำเลียงสินค้าส่วนใหญ่ไม่แยกขยะอาหาร (79.20%) และขยะรีไซเคิล (57.30%) ผู้ประกอบการเรือลำเลียงส่วนใหญ่ (81.9%) ไม่มีถุงขยะหรือถังขยะสำหรับลูกเรือ ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ ประสบการณ์ทำงาน สถานภาพรายได้และภูมิลำเนาไม่ส่งผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้า ทั้งนี้ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและปัจจัยด้านทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับกับมาตรการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และการป้องกันมลพิษ   This research is survey research to study the awareness of marine resource conservation among barges crewmen at Koh Sichang Port, Chonburi Province. Factors affecting the awareness of marine resource conservation such as media exposure, knowledge, understanding, and attitudes on the awareness of marine resource conservation were collected by using questionnaires from 400 respondents. Inferential statistics were used to test the hypotheses and analyze the relationship between factors affecting the awareness of marine resource conservation by multiple regression analysis at the significant level of 0.05.  The results revealed that most of the barges crewmen were between 35-40 years of age (51%), with work experience between 6-15 years (64.75%) and income range from 20,000 to over 25,000 baht (72.75%). Most of the crewmen were domiciled in the central and north-eastern parts of the country. The majority of the crewmen neither separate their food wastes (79.20%) nor recyclable wastes (57.30%). Most of the barge owners (81.9%) did not provide either trash bags or bins for the barge crewmen. Personal factors, such as age, work experience, income status, and domicile had no effects on marine resource conservation awareness of the crewmen. The awareness of marine resource conservation among the barge crewmen was positively correlated with knowledge, understanding, as well as their attitudes towards the marine resource conservation. Recommendations for relevant agencies are regarding measures to solves resource degradation problems and pollution prevention

Downloads

Published

2022-11-24