การยกระดับศักยภาพแบบพลวัตขององค์กรธุรกิจที่คล่องตัวและการจัดการโซ่อุปทาน ที่คล่องตัวส่งผลต่อการตอบสนองตลาดและเครือข่ายเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน

Authors

  • ภัทริยา พรปาริษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษา การยกระดับศักยภาพแบบพลวัตขององค์กรธุรกิจที่คล่องตัวและการจัดการโซ่อุปทานที่คล่องตัว ส่งผลต่อการตอบสนองตลาดและเครือข่ายเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรองเท้าของไทย ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรองเท้าของไทยระหว่างกลุ่มที่เป็นเจ้าของตราสินค้า (Brand) กับกลุ่มที่เป็นผู้รับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacturer-- OEM) และ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมรองเท้าของไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าของไทย ประเภท 33 โรงงานรองเท้าจากข้อมูลของฝ่ายวิจัยนโยบายฯ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยมีจำนวน 477 บริษัท คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 250 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้บริหารกลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้าของไทย จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่า องค์กรธุรกิจที่คล่องตัว การจัดการโซ่อุปทานที่คล่องตัว การยกระดับศักยภาพแบบพลวัต การตอบสนองตลาดและเครือข่าย และความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน มีการเชื่อมโยงของตัวแปรเป็นไปตามแนวทางที่ปรากฏในตัวแบบการยกระดับศักยภาพแบบพลวัตขององค์กรธุรกิจที่คล่องตัว (EDC of Agility Enterprise) โดยความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนได้รับอิทธิพลมาจากองค์กรธุรกิจที่คล่องตัว การจัดการโซ่อุปทานที่คล่องตัว การยกระดับศักยภาพแบบพลวัต ซึ่งส่งผลต่อการการตอบสนองตลาดและเครือข่ายอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของตราสินค้า ให้ความสำคัญกับการตอบสนองตลาดและเครือข่ายมากกว่ากลุ่มที่เป็นผู้รับจ้างผลิต และการตอบสนองตลาดและเครือข่ายมีอิทธิพลทางตรงต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มที่เป็นเจ้าของตราสินค้า แต่มีอิทธิพลทางตรงต่อกลุ่มผู้รับจ้างผลิตอย่างไม่มีนัยสำคัญ   In this dissertation, the researcher analyzes the enhancement of dynamic capabilities by enterprise on agility enterprises, agility supply chain management, enhanced dynamic capabilities, responsiveness, and sustainable competitive advantage for manufacturers of footwear industry in the Kingdom of Thailand (Thailand). The researcher also compares factors influencing the sustainable competitive advantage of these manufacturers owning brands and original equipment manufacturers (OEM). Finally, furthermore, the researcher investigates factors influencing the sustainable competitive advantage of the footwear industry in Thailand.   In this mixed-methods research approach, the researcher employed both quantitative and qualitative research methods. For the quantitative phase of research, the researcher constituted a sample of 250 Thailand footwear manufacturers, using a questionnaire as an instrument of the research. In the qualitative phase of research, the researcher carried out individual in-depth interviews with key informants. The informants were 16 Footwear manufacturing administrators. Findings are as following: agility enterprises, agility supply chain management, enhanced dynamic capabilities, responsiveness, and sustainable competitive advantage exhibited relationships between variables clearly in consonance with the guidelines of the Footwear manufacturers on EDC Agility Enterprise model. Sustainable competitive advantage was influenced by Agility enterprises, agility supply chain management, and enhanced dynamic capabilities of enterprises and exerted effects on responsiveness at a statistically significant level. The brand owners group paid attention to responsiveness at a higher level than the OEM group. Moreover, responsiveness exhibited direct influence on the sustainable competitive advantage of the group of brand owners, while evincing direct influence on the OEM group, but not at a statistically significant level.

Downloads

Published

2022-11-24