ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตสายไฟ และสายเคเบิ้ลแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดระยอง

Relationships between Organization Culture and Work Effectiveness of Employee in a Wire and Cable Company in Rayong Province

Authors

  • ณัฐวุฒิ เจริญร่าง
  • อัควรรณ์ แสงวิภาค

Keywords:

วัฒนธรรมองค์การ, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับของวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลในการปฎิบัติ งานของพนักงานในองค์การ 2) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการปฎิบัติงานของพนักงานในองค์การ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผล ในการปฎิบัติงานของพนักงานในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานบริษัทผลิตสายไฟและสายเคเบิ้ลแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดระยอง จำนวน 239 คน ผู้ศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ทำโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมประยุกต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของวัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะ เวลาการปฏิบัติงานในองค์การ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกันมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) วัฒนธรรมองค์การ แบบวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์ วัฒนธรรมองค์การด้านตั้งรับ-เฉื่อยชา วัฒนธรรมองค์การด้านตั้งรับ-ก้าวร้าว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานของพนักงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01   The objectives of this study were to:1) study the level organizational culture and the level Work Effectiveness of Employee in organization. 2) compare Work Effectiveness in organization who have different personal characteristics and 3) study relationship between organizational culture and Work Effectiveness of employees in organization. Samples are 239 employees in a Wire and Cable Company in Rayong Province. Data were collected by questionnaires and analyzed by application program of computer. Statistics used were: frequency, percentage, means, standard deviation. Inferential statistics were 2-samples t-test, One-Way ANOVA-F-test and Pearson product moment correlation coefficient.  The result revealed that 1) the level of the overall organizational culture and the level Work Effectiveness of Employee was in the high level; 2) the employees with different sex, age, education level employment time in organization and income per month in had statistically significant different on overall teamwork at 0.05 level.; 3) there was a positive correlation between organizational culture and Work Effectiveness of Employee (The Constructive Styles, Passive / Defensive Styles, Aggressive/Defensive Styles) with statistically significant at 0.01 level.

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติคุณ ซื่อสัตย์ดี. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ของเจ้าพนักงานชวเลข สังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

กิติภัส เพ็งศรี. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน: กรณีศึกษา จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

คณิสร พรไกรเนตร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลในการทำงานของบุคลากร กลุ่มงานบริหารทั่วไป สังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ. 1(2): 42-45.

ฉัตรแก้ว จรัญชล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการเรียนรู้กับประสิทธิผลการปฎิบัติงานของผู้ทำบัญชี ในเขตนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2 (2): 22-36.

ชาคริต ศรีขาว. (2551). ความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัทมิสกัน (ไทยแลนด์) จำกัด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เชาวนี พันธุ์ลาภะ. (2560). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากร สถาบันชีววิทยาศาสตร์ โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R E-Journal . 4 (2): 206-116.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

นันทิยา น้อยจันทร์. (2550). วัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิภาพการบริหารอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลับศิลปากร.

นิลภวิษย์ ทับทอง. (2555). วัฒนธรรมองค์กรกับการบริหารจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร

นุกูล ชิ้นฟัก. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการ จัดการภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ประภาศรี ดำสอาด. (2550). วัฒนธรรมองค์กรของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 26(2): 144-156

พีระ สุทธิคุณ, สุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ และธนาภิญญ์ อัตตฤทธิ. (2558). รายงายการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3. วิทยาลัย บัณฑิตศึกษาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เมทินี คงเจริญ. (2561). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของพนักงานครูในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร Veridian e-journal, Silpakorn university ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 2443-2457.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). การบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM). กรุงเทพฯ: สถาบัน TDRM.

วิไลวรรณ บ้านกรด. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จากัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศราวุฒิ รุ่งวิไลเจริญ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับภาวะผู้นำ กรณีศึกษา พนักงานระดับปฏิบัติการของ บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในเขต 70. การศึกษาค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัญสุณี เสมาภักดี. (2557). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานใน สถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรีาชมงคลอีสาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2565. วันที่ค้นข้อมูล 23 กันยายน พ.ศ. 2562 เข้าถึงได้ จาก. http://www.eeco.or.th/content/overview

อัชณา กาญจนพิบูลย์. 2553. วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลองค์การขององค์การจัดการน้ำเสีย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อำพร ธงชมเชย. (2558). ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานร่วมกันของแรงงานไทยและ แรงงานข้ามชาติในธุรกิจอู่ต่อเรือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการวิศวกรรมธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Chemers, M. M., & Ayman, R. (1985). Leadership orientation as a moderator of the relationship between job performance and job satisfaction of Mexican managers. Personality and Social Psychology Bulletin, 11(4), 359-367.

Cooke, R. and J. Lafferty. (1989). Level: Organizational Culture Inventory. Plymouth, MI: Human. Syner - Gistics.

Downloads

Published

2022-11-25