การบูรณาการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

Management integration National Village and Urban Community Fund Office

Authors

  • นิตยา มีภูมิ

Keywords:

การบูรณาการ, การจัดการ, สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ปัญหาและปัจจัยในการการบูรณาการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพในการทำการวิเคราะห์และอภิปรายผลร่วมกัน โดยประชากรกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายคือพนักงานสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำนวน 160 คน/ชุด ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมแบบสอบถามโดยมีจำนวนแบบ สอบถามตอบกลับที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์สามารถนำมาใช้ในการวิจัยครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 146 คน/ชุด โดยที่แบบสอบถามมีอัตราการตอบกลับคิดเป็น ร้อยละ 91.25 จากนั้นจึงนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อการบูรณาการบริหารจัดการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในครั้งนี้คือ ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาด้านงบประมาณ ปัญหาด้านบริหาร งานทั่วไป ปัญหาด้านคุณธรรม ปัญหาด้านการให้บริการประชาชน และปัจจัยเชิงนโยบาย ปัจจัยด้านเศรษฐกิจชุมชน ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การดำเนินงานของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 19 ที่ผ่านมายังไม่สามารถดำเนินงานให้บรรลุตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ในการก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตามหลักปรัชญาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 5 ประการ คือ 1) เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น 2) ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง 3) เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน, 4) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนราชการเอกชนและประชาสังคม 5) กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน  The objectives of this article were to study the management integration of National Village and Urban Community Fund Office, and to investigate the problems and factors in the management integration of National Village and Urban Community Fund Office. Mixed methods research was used as the methodology through qualitative and quantitative research methods. The target population were 160 employees of National Village and Urban Community Fund Office, all surveyed. Out of these 146 were complete questionnaires; or the response rate was 91.25%. These were analyzed using computer programs.  The results indicated that problems affecting the management of National Village and Urban Community Fund Office related to aspects of human resource, budget, general management, technology, moral, services and policy factors. Factors influencing its operation are: state of community economy, technology, organizational culture and general environment. Hence, the existing management has not fulfilled the objectives laid out in the National Village and Urban Community Fund Act 2004 (2547). Its five principles have not been satisfactorily met. They are: 1) Support the awareness of community and local, 2) Community defied future and manage the village and community with their own wisdom, 3) Provide benefit to the needy in the village and community, 4) Connect cooperative learning process between the community, government agencies, private sector and civil society, 5) Distribute the power to local and develop basic democracy.

References

ฝ่ายกฎหมายและงานทะเบียน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. รวมกฎหมาย; 2555. พระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. คู่มือบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ฉบับย่อ.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. หลักการพัฒนากองทุนเป็นสถาบันการเงินชุมชน.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. คู่มือการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. คู่มือการดำเนินแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/โครงการพัฒนาเมืองสำหรับผู้เสนอแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/โครงการ.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. คู่มือการดำเนินงานแผนปฏิบัติการ/แผนงาน/โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML). นนทบุรี: บริษัท เอส.พี.วี.กรพิมพ์ (2550) จำกัด.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. คู่มือการพัฒนาเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. โครงสร้างสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ.

ส่วนอำนวยความเป็นธรรม สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง. คู่มือการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดง; 2554.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงบประมาณของรัฐสภาสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รายงานการศึกษากองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ นักวิเคราะห์งบประมาณปฏิบัติการ ปี 2558

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2553: 7) : หลักการและเทคนิคการเขียนงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และรายงาน

นุจรี ภาคาสัตย์. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ วารสารวิชาการ Veridian –E-Journal ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม –สิงหาคม 2558 กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.

สุดใจ ผ่องแผ้ว และนุจรี ภาคาสัตย์ (2559). รูปแบบความสามารถทางการแข่งขันของผู้ประกอบการ OTOP ที่เป็น SMEs ในประเทศไทย วารสารวิชาการ Veridian –E-Journal ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน –ธันวาคม 2559 กลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2559). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรงบประมาณแผนงานบูรณาการและกรณีศึกษาแผนงานบูรณาการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงบประมาณของรัฐสภา.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม.

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล. (2562). พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2557). ระเบียบคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบูรณาการ การพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Achieng’ Odembo, S. (2013). Job satisfaction and employee performance within the telecommunication industry in Kenya: A case of Airtel Kenya limited (Research proposal). Kenyatta University, Kenya.

Brege, H., & Kindström, D. (2020). Exploring proactive market strategies. Industrial Marketing Management, 84, 75-88.

Chaisanit, P., & Punyasiri, S. (2018). The relationship between perceived human resource management practices and organizational citizenship behavior: A mediating role of employee engagement in five star hotels in Thailand. Dusit Thani College Journal, 12(3), 150-165.

Francis, A. U. (2013). The impact of strategic integration of human resource management practices on organizational performance: Some evidence from Nigeria. International Journal of Scientific & Engineering Research, 4(11), 1434-1455.

Hair, J., Anderson, R., Tatham, R. & Black,W. (2010). Multivariate Data Analysis 7th edition Prentice Hall.

Greenspoon & Saklofske, D.H. (1998). Confirmatory factor analysis of the multidimensional students life satisfaction scale. Personality and Individual Differences, 25(5), pp. 965–971.

Ismail, A., Mahdi, N. M. N., Mat, N., Ali, M. H., & Ali, N. A. A. M. (2018). Administration of the merit pay systems enhancing work outcomes. Asian Journal of Accounting and Governance, 9, 99–109

Kabanda, G. (2014). The impact of ICTs on customer service excellence in Zimbabwe. International Journal of Emerging Technology and Advanced Engineering, 4(5), 312-324.

Maher, M. H., Fakhar, M. S., & Karimi, Z. (2017). The relationship between budget emphasis, budget planning models and performance. Journal Health Management and Informatics, 5(1), 16-20.

Nazarian, A., Atkinson, P., & Greaves, L. (2014). The relationship between national culture and organisational culture: Case of medium and large size organisations in Iran. The Macrotheme Review, 3(6), 66-78.

Downloads

Published

2022-11-25