การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
AWARENESS OF TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP AFFECTING THE WORK EFFICIENCY OF THE EMPLOYEES OF A LARGE-CONSTRUCTION-MATERIAL SUPPLIER IN BANG KRUAI DISTRICT, NONTHABURI PROVINCE
Keywords:
ภาวะผู้นำ, ประสิทธิภาพในการทำงาน, การรับรู้, การเปลี่ยนแปลง, ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง, เขตบางกรวยAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 201 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) เปรียบ เทียบประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีปัจจัยด้านระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพนักงานที่มีปัจจัยด้านเพศ อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาปฏิบัติงานต่างกัน มีระดับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานไม่แตกต่างกัน และ (2) การรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 This research aimed to study (1) the comparison of the work efficiency of the employees by personal factors; and (2) a relation between the awareness of transformational leadership and the work efficiency of the employees of a large-construction-material supplier in Bang Kruai District, Nonthaburi Province. A sample group used in this research is consisted of 201 employees of a large-construction-material supplier in Bang Kruai District, Nonthaburi Province. The research instrument is a questionnaire, and the statistics used for data analysis include percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and analysis of variance. The research revealed the following outcomes: (1) As a result of comparing the work efficiency of the employees, it was found that the level of the work efficiency of the employees differed according to the factor of their educational level (the level of statistical significance was 0.05). Meanwhile, the level of the work efficiency of the employees also differed according to the factors of gender, age, average monthly income, and the length of service; and (2) the awareness of transformational leadership was related to the work efficiency of the employees (the level of statistical significance was 0.01).References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์: ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง ปี 2562. นนทบุรี: กองข้อมูลธุรกิจ.
นภาวรรณ ดิษฐประยูร. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
นริศรา ครันเล็ก. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการทำงานความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพในการทำงานกรณีศึกษาพนักงานบริษัท ลีโอโกลบอลโลจิสติกส์ จำกัด. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรพรรณ บูชากุล. (2561). ผลกระทบของการรับรู้นวัตกรรมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วุฒิพงษ์ วงค์ตาทำ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของการรับรู้ภาวะผู้นำและความพึงพอใจในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างความฉลาดทางอารมณ์สู่ประสิทธิผลของทีมบริษัท เอสพีมาร์เก็ตติ้ง ซัพพลาย จำกัด. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(3), 299-313.
ศิรดา เพชรแก้วกุล และเฉลิมพร เย็นเยือก. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษาท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(3), 75-90.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). ธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างปี 2559: เริ่มมีสัญญาณดี. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2563, จาก https://www.kasikornbank.com /th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/ConstructionMaterialStrategy.pdf.
สมประสงค์ อาจฤทธิ์. (2556). การรับรู้ของครูต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุมิตา สุขสุวรรณ, วีรยา ภัทรอาชาชัย และมณิสรา สนั่นเอื้อเม็งไธสง. (2562). ผลกระทบของความชำนาญในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท ซีอาร์ ซี ไทวัสดุ จำกัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 56-63.
อดิศักดิ์ เองมหัสสกุล, ศศนันท์ วิวัฒนชาต และฉัตยาพร เสมอใจ. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท โปรเฟสชั่นแนล เอ้าท์ซอสซิ่ง โซลูชั่น จำกัด. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 2562.
Al-Amin, M. (2017). Transformational leadership and employee performance mediating effect of employee engagement. North South Business Review, 7(2), 28-40.
Alshehhi, S., Abuelhassan, A. E., & Nusari, M. (2019). Effect of transformational leadership on employees’ performances through job satisfaction within public sectors in Uae. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering, 8(2), 588-597.
Andinasari, U., Sujanto, B., & Mukhtar, M. (2017). The effect transformational leadership, personality and job performance administration employee. International Journal of Human Capital Management, 1(2), 1-13.
Andinasari, U., Sujanto, B., & Mukhtar, M. (2017). The effect transformational leadership, personality and job performance administration employee. International Journal of Human Capital Management, 1(2), 1-13.
Cavazotte, F., Moreno, V., & Bernardo, J. (2013). Transformational leaders and work performance: The mediating role of identification and self-efficacy. Bar, Rio de Janeiro, 10(4), 490-512.
Chandrasekara, W. (2019). The effect of transformational leadership style on employees job satisfaction and job performance: A case of apparel manufacturing industry in Sri Lanka. International Journal of Economics, Commerce and Management, 7(7), 385-393.
Eliyana, A., & Arif, S. M. (2019). Job satisfaction and organizational commitment effect in the transformational leadership towards employee performance. European Research on Management and Business Economics, 25, 144-150.
Gaviria-Rivera, J. I., & Lopez-Zapata, E. (2019). Transformational leadership, organizational climate and job satisfaction in work teams. European Research Studies Journal, 22(3), 68-82.
Hassan, B., & Ogunkoya, O. (2014). Demographic variables and job performance: Any link? (A case of insurance salesmen). Economica, 10(4), 19-30.
Hendrawijaya, A. T. (2019). Demographic factors and employee performance: The mediating effect of employee empowerment. Media Ekonomi Dan Managemen, 34(2), 116-136.
Hoxha, A. (2019). Transformational and transactional leadership styles on employee performance. International Journal of Humanities and Social Science Invention, 8(11), 46-58.
Jyoti, J., & Bhau, S. (2016). Transformational leadership and job performance: A study of higher education. Journal of Services Research, 15(2), 76-110.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Mangkunegara, A. P., & Miftahuddin, N. (2016). The effect of transformational leadership and job satisfaction on employee performance. Universal Journal of Management, 4(4), 189-195.
Manzoor, F., Wei, L. Nurunnabi, M., Subhan, Q. A., Shah, S. I. A., & Fallatah, S. (2019). The impact of transformational leadership on job performance and CSR as mediator in SMEs. Sustainability, 11, 1-14.
Rawashdeh, A. M., Elayan, M., Shamout, M. D., & Saledh, M. H. (2020). Job satisfaction as a mediator between transformational leadership and employee performance: Evidence from a developing country. Management Science Letters, 10, 3855-3864.