ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัทอิเลคทรอนิกส์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

FACTOR OF WORKING MOTIVATION AFFECTIVE EMPLOYEE LOYALTY: A CASE STUDY OF AN ELECTRIC COMPANY IN LAEM CHABANG INDUSTRY ESTATE, CHONBURI PROVINCE

Authors

  • จุฬาลักษณ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • จุมพฏ บริราช

Keywords:

ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน, ความจงรักภักดี, Working Motivation, Employee Loyalty

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในและภายนอก 2. ศึกษาระดับความจงรักภักดีต่อองค์การ 3. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในกับความจงรักภักดี 4. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกกับความจงรักภักดี 5. ศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายในและภายนอกกับความจงรักภักดี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงานในบริษัทอิเลคทรอนิกส์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษาคือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายใน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย = 4.00) โดยด้านความรับผิดชอบและด้านความสำเร็จในงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ การยกย่องและยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ท้าทาย และด้านความก้าวหน้าในอาชีพตามลำดับ แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย = 3.75) โดยด้านความปลอดภัยในการทำงานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ ด้านสวัสดิการ ด้านเงินเดือน ด้านนโยบายและการบริหาร ด้านโบนัสและค่าจ้างทำงานล่วงเวลาตามลำดับ ความจงรักภักดีต่อองค์การมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วย (ค่าเฉลี่ย = 3.66) โดยด้านความรู้สึกมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ลำดับถัดมาคือ ด้านการรับรู้และด้านพฤติกรรมตามลำดับ 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายใน ประกอบด้วย ในด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ลักษณะของงานที่ท้าทาย ความรับผิดชอบมีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดคือด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านแรงจูงใจภายนอกประกอบด้วย ด้านนโยบายและการบริหาร เงินเดือน ความปลอดภัยในการทำงาน สวัสดิการ โบนัสและค่าจ้าง ทำงานล่วงเวลามีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดคือด้านนโยบายและการบริหาร  The objectives of this research were: 1. To study the level of operational motivation, internal and external motivation 2. Study the level of loyalty to the organization 3. Study the influence between operational motivation, internal motivation and loyalty 4. Study the influence between operational motivation, external motivation and loyalty. 5. Study the influence between operational motivation, internal and external motivation and loyalty. The sample groups used in this study are Employees of an electronic company in Laem Chabang Industrial Estate Chonburi Province, 370 people. The tool used for data collection was a questionnaire The statistics used in the study were frequent, percentage, mean, standard deviation. And multiple regression analysis. The results of the study showed that 1) the incentive for performance of internal motivation. Their opinions were at the agree level (average = 4.00) with the highest average level of responsibility and success. Next is Praise and respect The nature of the challenging work And career advancement respectively Performance motivation of external motivation was at the agree level (average = 3 .75) with the highest mean of occupational safety. Next is Welfare Salary side Policy and Administration Bonus and overtime wages respectively. Organizational loyalty was at the agree level (average = 3.66), with the feeling of being the highest average. Next is Cognitive and behavioral aspects, respectively. 2) Performance motivation Internal motivation consists in career advancement. Challenging nature of work Responsibility had a statistically significant influence on loyalty to the organization, with the most influential variable being career progress. 3) Performance incentives: External incentives include policy and administration, payroll, work safety, welfare, bonus and overtime wages influence loyalty to the organization. The variables with the highest influence were policy and administration.

References

กนกวรรณ มาลาพิเชฐ. (2558). การศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท A. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

กานดา ศรีจันทร์. (2557). การศึกษาวัฒนธรรมองค์การ แรงจูงใจที่มีต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงาน บริษัท เคอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด. บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นภาพร สุทธา. (2559). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรในสำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. บริหารธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ปิยธิดา กวินภัทรเวช. (2557). แรงจูงที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏับติงานของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ภิศรามณีษ์ อาจชอบการ. (2559). อิทธิพลของแรงจูงใจภายนอกและแรงจูงใจภายในต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัย รามคำแหง

สมฤทัย สิงห์ประสาท. (2558). แรงจูงใจด้านผลตอบแทนกับความจงรักภักดีของบุคลากรสายวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สวัสดิศรี จิรประเสริฐกุล และณกมล จันทร์สม. (2556). แรงจูงใจในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของ พนักงานในกลุ่มโลจิสติกส์. วารสารการตลาดและการสื่อสาร, 1(2), 691-711.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2563). รายงานและสถิติการลงทุนจากต่างประเทศ. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จากhttps://www.boi.go.th/index.php?page=statistics_ oversea_report_st&language=th.

Edward L. Deci & Richard M. Ryan. (1985). Intrinsic Motivation and Self-Determination in Human Behavior. New York: Plenum.

Hoy, W. K., & Rees, R. (1974). Subordinate Loyalty to Immediate Superior: A Neglected Concept in the Study of Educational Administration. Sociology of Education.

Downloads

Published

2022-11-25