ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง

FACTORS INFLUENCE ON TECHNOLOGY ACCEPTANCE OF AUTOMATION IN ELECTRONIC INDUSTRY MANAFACTUEING: A CASE STUDY OF ELECTRONIC FACTORY IN LEAM CHABANG INDUSTRIAL ESTATE

Authors

  • สุรวุฒิ สุขคำ
  • ฐิติมา ไชยะกุล

Keywords:

ระบบอัตโนมัติ, การยอมรับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, Automation, Technology Acceptance Model

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับของการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานที่ส่งผลต่อทัศนคติในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของทัศนคติในการใช้งานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จำนวน 277 คน ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับในการใช้งาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 3) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้งานเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4) ปัจจัยด้านทัศนคติในการใช้งานมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  The objectives of this study are 1) to study the influence of perception of perceived ease of use on perceived usefulness of automation technology, 2) to investigate the influence of the perceived usefulness on attitude towards using of automation technology, 3) to examine the influence of perceived ease of use on attitude towards using of automation technology, and 4) to study the influence of attitude towards using on technology acceptance of automation technology. The questionnaire survey was used to collect data from 277 employees in an electronics factory in Laem Chabang Industrial Estate, using the sample using simple random sampling. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The results showed that 1) the factor of perceived ease of use was found to positively influenced perceived usefulness of automation technology as a significant level of 0.05. 2) the factor of perceived usefulness was found to positively influenced attitude towards using of automation technology as a significant level of 0.05. 3) the factor of perceived ease of use was found to positively influenced attitude towards using of automation technology as a significant level of 0.05. 4) the factor of attitude towards using was found to positively influenced technology acceptance of automation technology as a significant level of 0.05.

References

กมลพรรณ แสงมหาชัย. (2559). ยุคสมัยที่เปลี่ยนผ่านกับการมาถึงของอุตสาหกรรมยุคที่ สี่ (Online). http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/ tn246_p38-41.pdf, 20 มิถุนายน 2563.

ณัฐพงศ์ ยาทิพย์. (2560). การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการระบบจอง-ซื้อบัตรชมภาพยนตร์ผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น กรณีศึกษา บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจ ไตรมาส 1/2562 (Online). https://www.nesdc.go.th/more_news.php?cid=747&filename=index, 20 มิถุนายน 2563.

นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. (2561). รายงานการศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการ อุตสาหกรรOnline). https://www.eeco.or.th/webupload/filecenter/ html/establishment/ Feasibility/017.pdf, 20 มิถุนายน 2563.

ปรเมธี วิมลศิริ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Online). https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381, 20 มิถุนายน 2563.

พรศรี ลีลาพัฒนวงศ์ และ ทิพวรรณ ปิ่นวนิชย์กุล. 2562. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี: กรณีศึกษา ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทยานยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1). วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ.42(2): 129-143.

ภาณุสิษฐ์ ตระกูลทุม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้ระบบธุรกิจอัจฉริยะ กรณีศึกษาบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศกรณีศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2561). อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) (Online). http://eiu.thaieei.com/box/Research/38/EECver12-18.pdf, 20 มิถุนายน 2563.

A, Shuhaiber., and I. Mashal. (2019). Understanding users’ acceptance of smart homes. Technology in Society 58: 101110.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned behavior. Organizational behavior and Human Decision Processes 50(2): 179-211.

Beyza, Sumer. (2018). Impact of Industry 4.0 on Occupations and Employment in Turkey. European Scientific Journal April 2018 edition 14(10): 1857–7881.

Cronbach, Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper.

Frank, Karayianes. (2017). Aircraft Maintenance Engineering: Factors Impacting Airlines E-Maintenance Technologies, Authoring and Illustrations. Business and Technology Management, Northcentral University.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belie, Attitude, Intention and Behavior: An Introduction to Theory and Research, Boston, MA: Addison-Wesley.

F. Davis. (1985). A technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems. Thesis in Massachusetts Institute of Technology.

F. D. Davis. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly 13(3): 319-339.

F. D. Davis, R. P. Bangozzi, and P. R. Warshaw. (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of two Theoretical Models. Management Science 35(8): 982-1003.

L. D. Morienyane., & A. Marnewick. (2019). Technology Acceptance Model of Internet of Things for Water Management at a local municipality. 2019 IEEE Technology & Engineering Management Conference (TEMSCON) : 1-6.

Lorenzo, G. (2019). A Quantitative Analysis of Factors Affecting U.S. Drivers Intentions To Use Autonomous Vehicles: Using The Car Technology Acceptance Model. Doctor of Philosophy, Capella University.

S. S. Man. et al. (2020). Critical Factors Influencing Acceptance of AVs by Hong Kong Drivers. IEEE 8: 109845-109856.

Neter, J., W. Wasserman and M. Kutner. (1989). Applied Linear Regression Models. Illinois: Irwin

O’brien, R. 2007. A caution regarding rules of thumb for variance inflation factors. Quality & Quantity 41 (5): 673-690.

O’brien, R. (2007). A caution regarding rules of thumb for variance inflation factors. Quality & Quantity 41 (5): 673-690

Sandema-Sombe, C.N. (2019). Relationship Between Perceived Usefulness, Ease of Use, and Acceptance of Business Intelligence Systems. Thesis in Walden University.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis 2nd Ed. New York : Harper and Row.

W, Wu., & D. Shang. (2019). Employee UI of U-Learning Technology. IEEE Access 7: 34170-34178

Downloads

Published

2022-11-25