ตัวแบบสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดนครปฐม

STRUCTURAL EQUATION MODELLING FACTORS AFFECTING WORK EFFICACY OF LORRY STAFF IN NAKHON PATHOM PROVINCE

Authors

  • พิจิตรตรา ทับทิม
  • ธัญนันท์ บุญอยู่

Keywords:

ความฉลาดทางอารมณ์, คุณภาพชีวิตในงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี, ประสิทธิภาพในงานของพนักงาน, emotional intelligence, quality of work life, organizational commitment organizational, citizenship behavior, work efficacy of staff

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ตัวแบบสมการโครงสร้างของความฉลาดทางอารมณ์คุณภาพชีวิตในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีที่มีผลต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดนครปฐม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานขับรถบรรทุกในจังหวัดนครปฐม จำนวน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ความฉลาดทางอารมณ์ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และประสิทธิภาพในงานของพนักงาน (2) คุณภาพชีวิตในงานส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีและประสิทธิภาพในงานของพนักงานเช่นกัน (3) ความผูกพันต่อองค์การก็ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และความผูกพันต่อองค์การก็ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงาน และ (4) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพในงานของพนักงาน ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อพนักงานในองค์การมีความฉลาดทางอารมณ์เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลและมีคุณภาพชีวิตในงานที่ดีก็จะสามารถสร้างให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์การที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีอันนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  The objective of this research is to study the causal factors of structural equation model of emotional intelligence, quality of work life, organizational commitment, and organizational citizenship behavior toward work efficacy of lorry staff in Nakhon Pathom province. Samples in this study were 190 lorry staff in Nakhon Pathom province. Research instrument in this study was a questionnaire, which was statistically analyzed by using percentage, means, standard deviation, and structural equation analyses. Results in this study revealed that: ( 1) emotional intelligence had the direct and indirect effect on organizational commitment, organizational citizenship behavior, and work efficacy of staff; (2) quality of work life also had the direct and indirect effect on organizational commitment, organizational citizenship behavior, and work efficacy of staff as well; (3) organizational commitment had directly affected on the organizational citizenship behavior, and organizational commitment had indirectly affected on the work efficacy of staff and (4) organizational citizenship had impacted on the work efficacy of staff. Therefore, the results of this study certified that when organizational staff had their internal emotional intelligence and had good quality of work life, it could promote their organizational commitment. All of these could establish organizational citizenship behavior to increase work efficacy further.

References

กรมการขนส่งทางบก. (2561). โครงการศึกษาและพัฒนาแนวทางการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมการขนส่งทางบก. (2563). รายงานสถิติการขนส่งประจำปี 2562. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/.

ชรัญญา ติปินโต. (2553). พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของพนักงานขับรถบรรทุก สมาคมผู้ประกอบการรถ บรรทุกจังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธัญนันท์ บุญอยู่, นิภา รุ่งเรืองวุฒิไกร, มนตรี พิริยะกุล และนภาพร ขันธนภา. (2559). อิทธิพลคั่นกลางแบบอนุกรมของทุนทางปัญญาและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการดำเนินงานสำหรับอุตสาหกรรมต่อตัวถังรถโดยสาร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 6(1), 78-94.

ธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตในงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของพนักงานวิสาหกิจขนาดย่อมของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 191-207.

เบญจวรรณ จู๋แหลมฟ้า. (2558). การศึกษาประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งโดยรถบรรทุกในภาคกลางของบริษัท เบญจวรรณ แอนด์ บวร ขนส่ง จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภูมิพิทักษ์ ศิลปะศร, ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร และสุชาวดี เกษมณี. (2559). แนวทางการพัฒนาพนักงานขับรถบรรทุกขนส่งสินค้าในโรงเรียนทักษะพิพัฒน์ เพื่อยกระดับมาตรฐานอาชีพ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(1), 112-122.

วุฒิพงษ์ วงค์ตาทำ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของการรับรู้ภาวะผู้นำและความพึงพอใจในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างความฉลาดทางอารมณ์สู่ประสิทธิผลของทีมบริษัท เอสพี มาร์เก็ตติ้ง ซัพพลาย จำกัด. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11(3), 299-313.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Dabas, D., Rani, D., & Sharma, P. C. (2016). Organizational culture, emotional intelligence and trust as a predicator of workplace outcomes. Shrinkhla Ek Shodhparak Vaicharik Patrika, 3(5), 8-14.

Dinc, M. S. (2017). Organizational commitment components and job performance: Mediating role of job satisfaction. Pakistan Journal of Commerce and Social Sciences, 11(3), 773-789.

Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.

Mafini, C. (2015). Investigating antecedent factors to job performance: Contemporary evidence from government supply management professionals. Acta Commercii, 15(1), 1-11.

Sartstedt, M., Ringle, C. M., Smith, D., Reams, R., & Hair, J. F. (2014). Partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM: A useful tool for family business researchers. Journal of Family Strategy, 5(1), 105-115.

Secapramana, V. H. (2013). The predictive model of relationship between role stress, personality, and sales performance in services marketing. Indonesian Association of Industrial & Organizational Psychology, 5, 1-17.

Shahhosseini, M., Silong, A. D., Ismaill, I. A., & Uli, J. N. (2012). The role of emotional intelligence on job performance. International Journal of Business and Social Science, 3(21), 241-246.

Sharma, K., & Mahajan, P. (2017). Relationship between emotional intelligence and organizational citizenship behavior among bank employees. Pacific Business Review International, 9(11), 20-29.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Yusoff, Y. M., Rimi, N. N., & Meng, C. H. (2015). A study of quality of work life, organizational commitment and turnover intention. Problems and Perspectives in Management, 13(2), 357-364.

Downloads

Published

2022-11-25