ปัจจัยที่มีอิทธิต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครือสหพัฒน์พิบูล อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

FACTORS AFFECTING EMPLOYEES' RESIGNATION OF A FOOD FACTORY OF SAHAPATTTANAPIBOON COMPANY IN SRIRACHA DISTRICT, CHON BURI, THAILAND

Authors

  • ธาณัชตรา สมัครจิตร
  • กฤช จรินโท
  • สุชนนี เมธิโยธิน
  • กฤษณา โพธิสารัตนะ

Keywords:

การตัดสินใจลาออก, ปัจจัยแรงจูงใจ, ปัจจัยธำรงรักษา

Abstract

ปัจจัยที่มีอิทธิต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครือสหพัฒน์พิบูล อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาการส่งผลระหว่างปัจจัยจูงใจ และปัจจัยธำรงรักษาขององค์การสถานประกอบการในการทำงานกับการตัดสินใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครือ สหพัฒน์พิบูล อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารแห่งหนึ่งในเครือสหพัฒน์พิบูล อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 314 ตัวอย่างสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบเพื่อวัดความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และ Binary logistics regression ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจัยจูงใจเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งประกอบ ไปด้วยปัจจัยย่อย ๆ เรียงตามลําดับความสําคัญ คือ ด้านความสําเร็จ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความยอมรับนับถือ และด้านลักษณะงานเป็นลําดับสุดท้าย ซึ่งการทดสอบสมมติฐานสรุปว่าปัจจัยจูงใจที่ส่งผลกับการตัดสินใจลาออกอย่างที่มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความสําเร็จและด้านความรับผิดชอบมีผลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ อันเนื่องมากจากพนักงานระดับปฏิบัติการให้ความสําคัญในปัจจัยดังกล่าวนี้และต้องการแสดงความสามารถของตนในการทํางานจนงานที่ปฏิบัติสําเร็จลุล่วงและได้รับการมอบหมาย ความรับผิดชอบในงานเป็นแรงจูงใจมีผลทําให้การลาออกลดลง ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทําให้บุคคลเกิดความพอใจในงาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับการปฏิบัติงานและทําให้พนักงานเกิดความสุขในการทำงาน 2. ปัจจัยธํารงรักษาเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลาออกจากงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัยย่อย ๆ เรียงตามลําดับความสําคัญ คือ ด้านรายได้ในการทํางานมีอิทธิพลต่อการลาออก จากงานเป็นอันดับแรก ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความมั่นคงในงาน ด้านบริษัทและนโยบายการบริหาร และด้านบรรยากาศในการทํางานเป็นลําดับสุดท้าย ซึ่งการทดสอบสมมติฐาน สรุปได้ว่าทุกปัจจัยธํารงรักษาส่งผลกับการตัดสินใจลาออกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ใกล้ชิดกับพนักงานและมีผลต่อความเป็นอยู่มากที่สุด ทั้งยังเป็นปัจจัยที่ทําให้บุคคลเกิดความพอใจในงาน โดยปัจจัยธำรงรักษาจะส่งผลกับสิ่งแวดล้อมของงานและเป็นตัวปองกันความไม่พอใจในงาน ทั้งนี้เมื่อพนักงานได้รับการตอบสนองปัจจัยนี้อย่างเพียงพอแล้วจะมีการลาออกลดลง The research aimed to study to what extent personal factors, organizational motivating factors, and maintaining factors affected resignation of operating employees of a Sahapattanapiboon Food Factory in Sriracha District, Chon buri. The sample consisted of 314 operating employees of a Sahapattanapiboon Food Factory in Sriracha District, Chon buri. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA F-test, and Binary Logistics Regression. The results indicated as follows: 1. Motivating factors affected the resignation of operating employees. The factors were divided into success, responsibility, being accepted, and job description. From the hypotheses testing, it was found out that motivating factors affected the resignation at the statistical significance of .05. In fact, the attributes of success and responsibility affected employees' resignation because operating employees put an emphasis on these attributes and they wanted to show that they have competency to work successfully. In addition, when employees were assigned with responsibility, their tendency to resign was decreased. Moreover, it was the factor that made employees satisfied with their work and it also led to happiness at work. 2. Maintaining factors affecting resignation of operating employees consisted of many attributes which was arranged in the order of importance. The first was wages which affected the employees' resignation. Next were the relationship among colleagues, the relationship toward commander, job security, company and its policy, and climate at work respectively. From the hypotheses testing, it was found out that all of the attributes of maintaining factors affected the resignation at the statistical significance of 0.05. This was due to the fact that maintaining factors were close to employees and affected their living the most. They were also the factors causing satisfaction at work. In fact, maintaining factors affected climate at work and prevent employees from dissatisfaction. Thus, when the company could provide enough maintaining factors to the employees, the employees' resignation would be decreased.

Downloads

Published

2024-02-14