การประยุกต์วัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่น (โมโนซูกูริ) ในหน้างานการผลิต

AN APPICATION OF JAPANESE PRODUCTION CULTURE (MONOZUKURI) FOR PRODUCTION SHOP FLOOR

Authors

  • บุญพา รอชัยกุล

Keywords:

วัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่น, การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, การสร้างบุคลากร, ความสูญเปล่า, สถานที่จริง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการของวัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่น (Monozukuri) เพื่อค้นหา โครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่สําคัญ เพื่อนำปัจจัยต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้กับการผลิต โดยดำเนินระเบียบวิธีวิจัย แบบสํารวจวรรณกรรมได้รวบรวมบทความและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจำนวน 16 ฉบับ มาทำการวิเคราะห์หาประเด็นสําคัญ หรือองค์ประกอบของวัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่น (Monozukuri) ซึ่งกลั่นกรองได้ 21 ปัจจัย ได้แก่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) การพัฒนาบุคลากร ทักษะ เทคโนโลยี คุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และต้นทุน เป็นต้น จากนั้นได้ทำการสังเคราะห์ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น โดยได้นำเสนอโมเดลที่จะมุ่งพัฒนาผลิตภาพ และความสามารถในหน้างานการผลิต ด้วยการ เริ่มจากการทำ 2ส. (สะสาง และ สะดวก) ลดความสูญเปล่า (Muda) จากสถานที่จริง ของจริง (Genba Genbutsu) เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) และการสร้างมาตรฐานของการทำงาน ด้วยแนวคิดที่ว่า สร้างคนก่อนสร้างงาน (Hitozukuri) สร้างวิธีการที่ดีและเหมาะสมก่อน (Standardized Work) แล้วจึงนําไปสร้างคน จากโมเดลที่ได้นําเสนอนี้ได้นําไปประยุกต์ใช้กับบริษัทกรณีศึกษาโรงงานประกอบ ฮารด์ดิสก์ไดร์ฟ ผลการวิจัยเป็นที่ประจักษ์ว่า รอบเวลาในการประกอบลดลง และได้ขจัดความสูญเปล่า (Muda) ที่เกิดจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างคนกับเครื่องจักร และ ได้ขจัดกระบวนการการขัดจังหวะต่าง ๆ ในกระบวนการ การประกอบตัวเอชดีเอ (HDA) กับแผ่นพีซีบีเอ (PCBA) ซึ่งเป็นจุดคอขวดของกระบวนการในปัจจุบันของบริษัท โดยมีรอบเวลาในการประกอบสูงกว่า 16 วินาที ต่อไดร์ฟ ผลที่ได้จากการวิจัยทําให้ รอบเวลาในการประกอบตัวเอชดีเอกับแผ่นพีซีบีเอ ลดลงจาก 16 วินาทีต่อไดร์ฟ เป็น 14 วินาทีต่อไดร์ฟ  This research has been conducted with the purpose of understanding the concepts of Japanese production culture (Monozukuri) and analyzing the important fundamental factors in order to apply it in production processes. The research methodology conducted as literature reviews. Sixteen related papers were gathered and used as a tool in analyzing the essential cultural factors. Twenty one most mentioned factors from the literature were excerpted. Examples of these factors are continuous improvement (Kaizen), human development, skill, technology, quality, innovation, and cost of production. Synthesis of the excerpted factors was conducted to propose a productivity improvement model production shop floor. The initiation of the model starts from the 2S method (Sort and Simplify), waste reduction (Muda), activity observation at the actual situation (Genba Genbutsu), continuous improvement activities (Kaizen), and standardization of work. The main emphasis of this model is focusing on people before focusing on work (Hitozukuri) by creating appropriate working environment and standardized work before focusing on people. The proposed productivity improvement model was applied at a hard drive manufacturing plant. The realized improvements from the implementation of the model are waste elimination causing from un-synchronization between workers and machines and elimination of bottleneck tasks. Consequently, cycle time of Hard Disk Drive Assembly (HDA) and Printed Circuit Board Assembly (PCBA) was reduced from 16 seconds/drive to 14 seconds/ drive.

Downloads

Published

2024-02-14