การศึกษาอิทธิพลของการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัยและการรับรู้คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำโดยขึ้นอยู่กับแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
THE INFLUENCE OF HEALTHY LIVING AND PERCEPTION OF SERVICE QUALITY ON INTENTION TO REVISIT OF HEALTH PROMOTION TOURISM DEPENDING ON TRAVEL MOTIVATION OF FOREIGN TOURIST IN PATTAYA, CHON BURI PROVINCE, THAILAND
Keywords:
การท่องเที่ยว, การจูงใจ(จิตวิทยา), การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, นักท่องเที่ยวต่างชาติAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัยและการรับรู้คุณภาพการบริการ ที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำโดยขึ้นอยู่กับแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยว เชิงสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยเลือกนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 410 คน คิดเป็น ร้อยละ 93.18 ของแบบสอบถามทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ปัจจัย Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA (F-test) วิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบ Mediation Effects Using Multiple Regression ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย โดยใช้บริการนวดแผนไทยมากที่สุด มีสัญชาติสหรัฐอเมริกัน มีอายุอยู่ในช่วง 25-34 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษา ปริญญาตรีมากที่สุด มีอาชีพเจ้าหน้าที่ทางเทคนิค มีรายได้ $35,001 - $55,000 และมีระยะเวลาการท่องเที่ยว 1 สัปดาห์ มากที่สุด และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีระดับความคิดเห็นต่อการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับไม่แน่ใจ มีระดับความคิดเห็นต่อการรับรู้คุณภาพการบริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย มีระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างเห็นด้วย มีระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ค่อนข้างเห็นด้วย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีแรงจูงใจทางการท่องเที่ยว ด้านปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดแตกต่างกันและการใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัยด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ด้านการจัดการ ความเครียด และด้านระดับการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 การรับรู้คุณภาพการบริการด้านความเชื่อมั่นไว้วางใจ และด้านลักษณะทางกายภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวด้านปัจจัยดึงดูดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 การใช้ชีวิตอย่างถูกสุขอนามัยไม่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำโดยขึ้นอยู่กับแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และการรับรู้คุณภาพการบริการมีผลต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำโดยขึ้นอยู่กับแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 The research objective was to study the influence of healthy living and perception of service quality on revisit intention of health promotion tourism depending on travel motivation of foreign tourists in Pattaya, Chon Buri Province. Simple Random Sampling and Systematic Sampling were implemented for the group sampling of foreign tourists. The sample group consisted of 410 foreign tourists of health promotion tourism in Pattaya, Chon Buri Province. The statistics used for data analysis included parentage, mean, standard deviation, factor analysis, Independent sample t-test, One-Way ANOVA (t-test), and multiple regression analysis, and the test of mediation Effects was done through Multiple Regression. The findings revealed that male tourists were the majority of the foreign tourists traveling with health promotion tourism. They used Thai massage service the most. They were American and their age range was 25-34 years and they were single. Most of them had bachelor's degree and were technicians. Their income was $35,001 - $ 55,000 and their length of the stay was one week. Most of the foreign tourists had the uncertain level of their healthy living. They agreed that they perceived the service quality. They also agreed that they had travel motivation. They quite agreed that they had intention to revisit Thailand. From the test of hypotheses, it was found that foreign tourists with different occupation had difference in travel motivation concerning impulsion and attraction. Healthy living, including health care; stress management; and doing exercise, was positively correlated with travel motivation at the significance level of 95 %. The service quality perception, concerning trust and tangibility features, was positively correlated with travel motivation at the significance level of 95 %. Travel motivation, concerning impulsion factor and attraction factor, was positively correlated with revisit intention at the significance level of 95 %. Healthy living had no effect on revisit intention but revisit intention depended on foreign tourists' travel motivation of health promotion tourism in Pattaya, Chon Buri Province at the significance level. The perception of service quality had an effect on revisit intention of foreign tourists of health promotion tourism in Pattaya, Chon Buri Province at the significance level of 95 %.Downloads
Published
2024-02-15
Issue
Section
Articles