ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือน กรณีศึกษาเกษตรกรในจังหวัดนครพนม

Factors Affecting the Occurrence of Household Debt: A Case Study of Farmers in Nakhon Phanom Province

Authors

  • ปิยรัช ผงอินทร์
  • ชินวัตร เชื้อสระคู

Keywords:

ปัจจัย, หนี้ครัวเรือน, Factors, Household Debt, Farmers

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรในจังหวัดนครพนม และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรในจังหวัดนครพนม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก จำนวน 385 คน สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 8 คน ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36 - 60 ปี สถานภาพสมรสแล้ว ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 3 - 4 คน โดยเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนามากที่สุด มีระยะเวลาประกอบอาชีพเกษตรกร 21 - 30 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000 - 10,000  บาทด้านภาระหนี้สิน หนี้สินในปัจจุบันของเกษตรกร ร้อยละ 89.6 เป็นหนี้ในระบบที่กู้มาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือน ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก และมีปัจจัย 4 ด้านที่มีระดับความคิดเห็นน้อย ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางพฤติกรรม ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม และปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ตามลำดับ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ จากกู้ยืมเงินเพื่อต้องการทุนผลิตทางการเกษตร ด้านปัจจัยทางสังคม การตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าตามกระแสความนิยมเพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคม ด้านปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวนมากที่ต้องดูแลและรับผิดชอบ อย่างเช่น ค่าเทอม ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน แนวทางในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ครัวเรือน ได้แก่ นโยบายการพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ นโยบายด้านการบริหารจัดการการเงิน นโยบายสวัสดิการและมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษาจากสถิติเชิงพรรณนา พบว่า เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36-60 ปี สถานภาพสมรสแล้ว มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมากที่สุด 3-4 คน โดยเป็นกลุ่มเกษตรกรทำนามากที่สุด มีระยะเวลาประกอบอาชีพเกษตรกร 21-30 ปี เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านรายได้ ส่วนใหญ่มีแหล่งที่มาของรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรอย่างเดียวและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ด้านรายจ่าย มีค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่ต้องจ่ายต่อเดือน 5,000-10,000 บาท และด้านภาระหนี้สิน หนี้สินในปัจจุบันของเกษตรกร ร้อยละ 89.6 เป็นหนี้ในระบบที่กู้มาจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรในจังหวัดนครพนมที่สำคัญ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่ทำการกู้ยืมเงินเพื่อต้องการทุนทำการผลิตทางการเกษตร เพราะมีแหล่งที่มาของรายได้จากผลผลิตทางการเกษตรอย่างเดียวและมีปริมาณลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางสังคม ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าตามกระแสความนิยมของสังคมเพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคม ปัจจัยทางพฤติกรรม สมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมการบริโภคที่เกินความจำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองและครอบครัว ในส่วนปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวนมากที่ต้องดูแลและรับผิดชอบ อย่างเช่น ค่าเทอม ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน เกษตรกรมองว่าการใช้จ่ายด้านศึกษาของบุตรหลานเป็นการลงทุนในระยะยาวที่คุ้มค่าจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต รวมถึงปัจจัยทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อม สร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เกษตรกรขาดแคลนรายได้ไปจนถึงบางรายขาดทุน สำหรับนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่กลุ่มตัวอย่างและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ความสำคัญมาก ได้แก่ นโยบายการพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพ นโยบายด้านการบริหารจัดการการเงิน นโยบายสวัสดิการและมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ และนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง The objectives of this study were: 1) to study the factors causing household debt of farmers in Nakhon Phanom province, and 2) to prepare policy recommendations as a guideline to alleviate household debt burdens among farmers in Nakhon Phanom province. The study utilized a mixed method research, with quantitative research involving a convenience sample of 385 persons. Statistical analyses included frequency, mean, percentage, and standard deviation. Qualitative research sections included in-depth interviews with key informants consisting of eight farmers and government officials. The quantitative study found that the majority of the subjects were female, aged between 36 - 60 years old. Most of them have 3 - 4 household members, with the largest group of farmers having a career period of 21 to 30 years and an average monthly income of 5,000 to 10,000 baht. Regarding debt burden, 89.6% of farmers' current liabilities were from debts borrowed from specialized financial institutions such as Government Savings Bank and the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. The factors contributing to household debt include economic factors at a high level of consensus, and there are 4 aspects with low levels of consensus: social factors, behavioral factors, geographical and environmental factors, and personal and family factors, respectively. Qualitative research findings indicate that significant factors leading to household debt include economic factors, such as borrowing money for agricultural production needs. Social factors involve decisions to purchase products based on trends to gain social acceptance. Personal and family factors include the responsibility for and care of numerous household members, such as tuition and educational expenses. Approaches to solving household debt issues include policies to enhance occupational knowledge and skills, financial management policies, welfare policies, government aid measures, and sufficiency economy policies.

References

กฤษณะ ฐานวรกลู. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อยาในเขตอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ชุติพงศ์ ศาตนันทพิพัฒน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้นอกระบบ กรณีศึกษาบุคลากรสังกัดกรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐศาสตร, สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ, นักบริหารคณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดนุวัศ สาคริก และปนันดา จันทร์สุกรี. (2560). ผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมสถาบันและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อรายได้และรายจ่ายในภาคการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 5(18), 58-74.

ไทยพับลิก้า. (2561). ระดับหนี้ครัวเรือนกระทบชีวิตและธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้ จาก https://thaipublica.org/2018/05/kkp-financial-literacy-19/

ไทยรัฐออนไลน์. (2565). โควิดทำคนจนเพิ่มเป็น 20 ล้านคน รัฐผ่านเกณฑ์ “บัตรคนจน” รอบใหม่ใช้ได้ 1 ต.ค. วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th /money/economics/ thailand_econ/2304134

ธนา สุวัฑฒน และคณะ. (2557). ปัญหาหนี้ครัวเรือนต่อเศรษฐกิจประเทศไทย. การบริหารเศรษกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง

ปรีญานุช บุตรน้ำเพชร. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะทางการเงินส่วนบุคคลในช่วงสถานการณ์ COVID - 19 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิชาค้นคว้าอิสระ, สาขาวิชาการบัญชี, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พัทธ์ธีรา สมทรง. (2560). บทบาทของผู้นำชุมชนในการหนุนสนับสนุนเพิ่มเติมในส่วนการควบคุมทางการเงินของคนในการลดเพียงเล็กน้อยลงผ่านการจัดระเบียบ องค์กรของชุมชนบ้านสามขา อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง. วารสารบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 146-155.

วนัชพร จามิต และบุฏกา ปัณฑุรอัมพร. (2563) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ โควิด - 19 ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิชาค้นคว้าอิสระ, สาขาวิชาการเงิน, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรางคณา บัวล้อม. (2558). พฤติกรรมที่มีผลต่อการก่อหนี้ของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ, หลักสูตรปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วลัยพร สกุลพอง. (2551). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารทั่วไป,วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรัญญา ศึกสงคราม และอนงค์นุช เทียนทอง. (2563).อิทธิพลของความรู้และทัศนคติทางการเงินต่อการก่อหนี้ส่วนบคุคลในวัยเริ่มทำงาน: หลักฐานการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(5), 84-85.

ศิรินภา โภคานิชย์ และสัญญา เคณาภูมิ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาระหนี้สินของเกษตรกรอำเภอท่าบ่อจังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 5, 194-200.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2566). หนี้นอกระบบ...ปัญหาที่ซับซ้อนในด้านสังคม คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของภาคครัวเรือน (มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4027). วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.kasikornresearch.com/th

สมหมาย ปะติตังโข, พิสมัย ประชานันท์, กิ่งแก้ว ปะติตังโข, สมศักดิ์ จีวัฒนา, นงลักษณ์ ทองศรีและนวมินทร์ ประชานันท์. (2558). การศึกษาแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนในชุมชนโดยใช้ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านตราดตวน ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยละพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(1), 68-77.

สุพจน์ บุญวิเศษ และสิริพัฒถ์ ลาภจิ. (2561). แนวทางการเพิ่มศักยภาพชาวนาอีสานใต้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(2), 77-82.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม. (2564). วิเคราะห์ด้านการเกษตร. วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://nakhonphanom.doae.go.th/province/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แนวทางการดำเนินงานในการแก้ไข. วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc .go.th /main. php? filename=intro

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครพนม. (2564). ความยากจนจำแนกตามเขตและพื้นที่. วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://nakhonphanom.m-society.go.th

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2565). การลดความยากจนและ Big Data ผู้มีรายได้น้อย. วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://tijrold.org/wp-content/uploads/2022/02/การลดความยากจนความเหลื่อมล้ำ- Big-Data-ผู้มีรายได้น้อย-RoLD.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). หนี้สินของครัวเรือนเกษตร พ.ศ. 2564. วันที่ค้นข้อมูล 15 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/ebook/Agriculture_Household_ Debt_ 2564/index.html

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย. สำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้วัดภาวะสังคม. (ม.ป.ท).

อีสานอินไซต์. (2564). อาชีพหลัก vs รายได้หลักของคนอีสาน. วันที่ค้นข้อมูล 6 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://isaninsight.kku.ac.th/archives/636

อุษา อมรรัชยาวิจารณ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้นอกระบบของประชาชนในอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(1), 62-72.

Downloads

Published

2024-07-02