บทสำรวจกรอบการศึกษาการปรับตัวของชาวนาไทย ทางเศรษฐกิจการเมืองและโจทย์สำหรับ การศึกษาในอนาคต
Keywords:
การปรับตัวของชาวนาไทย, พัฒนาโจทย์วิจัยชาวนา, เศรษฐกิจการเมือง, การเกษตรAbstract
บทความนี้นำเสนอบทสำรวจ กรอบการศึกษาการปรับตัวของชาวนาไทย ทางเศรษฐกิจการเมือง และโจทย์สำหรับการศึกษาในอนาคต สำหรับการทำความเข้าใจ การปรับตัวของชาวนาในชุดคำอธิบายที่หลากหลาย จากกรอบสถาบันนิยมใหม่ ในทางสากลทั้งระดับโครงสร้าง วัฒนธรรม และทางเลือกของตัวแสดง จนนำมาสู่กรอบ การศึกษาการปรับตัวของชาวนาไทยที่ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่จากยุคการมองสังคมเกษตร ว่าเป็นระบบอุปถัมภ์ มาสู่การใช้กรอบแบบ Marxism วัฒนธรรมชุมชน การมองชาวนา การเมืองในยุคโลกาภิวัตน์และหลังสังคมเกษตรกรรม และการปรับตัวของชาวนา ในฐานะตัวแสดงทางนโยบายและการเมืองในนโยบายข้าวปัจจุบันที่ใกล้ชิดกับกลไกตลาดและรัฐ งานนี้ได้เสนอว่าอนาคตควรมีการศึกษาโจทย์เรื่องการปรับตัวของชาวนาใน 5 ด้านสำคัญประกอบด้วยเรื่องนิเวศเกษตรกรรม กลไกตลาดโลกและภูมิภาคว่าด้วยเรื่องข้าว นโยบายในการแทรกแซงเศรษฐกิจข้าว การจัดองค์กรชาวนา และรัฐสวัสดิการภาคเกษตร This article demonstrates a contemporary survey on political economy approaches to resilience of Thai peasants and developing research questions for the future. To understand adaptation of peasants, the new institutionalism was employed to indicate levels of analysis, including structure, culture, and choice. In addition, the approaches to resilience of Thai peasants could be divided into five perspectives: patronage system, Marxism, community culture, post-agrarian society, and policy studies. The Thai peasants thus was both policy and political actors that had closely interrelation with market and state mechanisms. But above all, the article proposes developing research questions which consist of peasants’ adaptation under five conditions as agroecology, global and regional rice market, rice price policy, peasant’s organized cooperation, and agricultural welfare state.Downloads
Issue
Section
Articles