เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการสร้างความมั่นคง ทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

Authors

  • ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
  • สุธี ประศาสนเศรษฐ์

Keywords:

เศรษฐศาสตร์การเมือง, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ, ชุมชนบางสระเก้า

Abstract

          ในบทความเรื่อง เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าการสร้าง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการดำรงชีพอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ชุมชนบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีเพื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ และการดำรงชีพอย่างยั่งยืน วิเคราะห์กระบวนการและวิธีการสร้างความมั่นทาง เศรษฐกิจและความมั่นคงในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของชุมชนบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นคง ทางเศรษฐกิจและการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของชุมชนบางสระเก้า คือ ปัจจัยเสี่ยง ทางด้านเศรษฐกิจ อันได้แก่ การพึ่งพาภายนอกและเน้นการผลิตเพื่อขาย การใช้ชีวิตตามกระแสบริโภคนิยม การใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย/เกินตัว/ขาดการออมและภาวะหนี้สิน เนื่องจากความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสังคม ได้แก่ อบายมุขที่เกิดขึ้นในชุมชน วิถีชีวิตแบบปัจเจกบุคคล และการล่มสลายของวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น ปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระบบนิเวศน์ถูกทำลาย ป่าชายเลนถูกบุกรุกแผ้วถาง ในส่วนของกระบวนการและวิธีการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงในการดำรงชีพ อย่างยั่งยืนของชุมชนนั้น พบว่าด้านเศรษฐกิจได้มีการจัดตั้งกลุ่มองค์กรทางเศรษฐกิจ การจัดตั้งองค์กรการเงินและ สวัสดิการในชุมชนบางสระเก้า กระบวนการและวิธีการสร้างความมั่นทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงในการดำรงชีพอย่างยั่งยืนของชุมชนบางสระเก้า ด้านสังคมมีการจัดตั้งกลุ่ม/องค์กรเพื่อขับเคลื่อนงานสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับมิติสังคมและวัฒนธรรม เช่น กลุ่มเยาวชนรักษ์ถิ่น กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มสตรีชาวนาไทย ชมรมพลังแห่งความรัก ชมรมผู้สูงอายุ วิทยุชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อมได้มีโครงการบ้านปลา ธนาคารปู ที่เป็นความพยายามที่จะสร้างเสริม ระบบนิเวศน์ทางธรรมชาติ ให้กลับคืนมาดังเดิมและสร้าง ที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชน โครงการฟื้นฟูป่าชายเลน และพื้นที่สีเขียวในชุมชน การทำให้เป็นเขตอนุรักษ์และรักษาต้นไม้และพันธ์ไม้ต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ใกล้เคียงการเขตอนุรักษ์และรักษาสัตว์น้ำ เป็นต้น           In the title of the article " Building the economic wealthiness and sustainable living: The case study of the community of Bang Sa Kao in Leam Sing District Chunthaburi province" for analyzing the risk factors which cause the unstable economy, and the sustainable living. Analyzing the procedure and how to build the economic wealthiness and the sustainable living in the community of Bang Sa Kao in Leam Sing District Chunthaburi province. From the study found that the risk factors which cause the unstable economy, and the sustainable living in the community of Bang Sa Kao are the risk factors in terms of the economy, such as relying in the external and focusing on the production for sale. Spending life as the consumerism, such as spending too much money, lack of saving money and the debt due to fail in career. The risk factors in term of the society , such as all bad things that happens in the community, the individuality ways of life and fall of the original culture in the community. The risk factors in term of the environment, such as the ecosystem has been destroyed, the mangrove has been intruded. In the part of the procedure and how to build the economic wealthiness and the sustainable living in the community found that the economic aspect has been set up the economic organization group, the financial and welfare organization in the community of Bang Sa Kao, the procedure and how to build the economic wealthiness and the sustainable living in the community of Bang Sa Kao. The social aspect, the group/ the organization have been set up for driving the public works that relate with the society and the culture dimensions, such as the local conservative youth group, the volunteer group, the Thai farmer lady group, the power of love club (The immune deficiency), the elder group, the radio in the community. In the aspect of the environment, such as the fish house project, the crab bank that tried to rebuild the ecosystem, and to build the accommodation for aquatic animals in order to be the food source for the community, the mangrove and the green area restoration project, driving the concept of conservation zone for the trees and seedlings in the mangrove area, the nearby areas, the concession area and the aquatic animals.

Downloads