ตัวตนของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยบูรพา: วิเคราะห์ผ่านทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์
Keywords:
นิสิตเวียดนาม, มหาวิทยาลัยบูรพา, ตัวตน, ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์Abstract
การศึกษาและทำความเข้าใจถึงตัวตน (self) และการปรับตัวของนิสิต นักศึกษาชาวต่างชาติในประเทศไทยถือเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการศึกษาของไทย สำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงตัวตนของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อแสดงให้เห็นถึงตัวตนและการปรับตัวของนิสิตเวียดนามที่เกิดขึ้น ภายหลังจากการ ก้าวเข้าสู่บริบทสภาพแวดล้อม (environment) ใหม่อย่างมหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านการ ใช้กรอบวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ (symbolic interaction) มาช่วยในการอธิบายตัวตน ของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยบูรพาที่เกิดขึ้น การศึกษาถึงตัวตนของนิสิตเวียดนามในมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า นิสิตเวียดนามมักมีปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มนิสิตเวียดนามด้วยกันเอง ทำให้ตัวตนที่แสดงออกมาเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การแสดงออกถึงตัวตนของนิสิตเวียดนามภายในกลุ่มของตนเอง ซึ่งมีความแตกต่างจากถิ่นที่มา และค่านิยมความเชื่อเดิมของแต่ละคน แต่ด้วยสภาพแวดล้อมใหม่ทำให้นิสิตเวียดนาม มีการรวมกลุ่มกันเป็นหนึ่งเดียวโดยอาศัย “ความเป็นชาตินิยม” เพื่อสร้างความช่วยเหลือและพึ่งพาระหว่างกัน ส่วนลักษณะที่สอง เป็นการแสดงออกถึงตัวตน ทางสังคม (social self) ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิสิตเวียดนามกับกลุ่มคนอื่น ๆ โดยตัวตนทางสังคมที่แสดงออกมาของนิสิตเวียดนามอยู่บนพื้นฐานของความเป็น ชาตินิยมและความเป็นพวกพ้องของตน ผ่านระบบสัญลักษณ์ อย่างการแต่งกาย ภาษาและการรวมกลุ่ม การแสดงออกถึงตัวตนทางสังคม นิสิตเวียดนามปรับตัวตาม บริบทสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อผู้คนตามช่วงเวลาต่าง ๆ Studying and understanding of self and adaptation of foreign students in Thailand is significant to develop and change Thailand’s education in ASEAN participation. Thus, this article aims to study about self of Vietnamese students in Burapha University, and self-expression and adaptation of Vietnamese students after they reached into the new environment in Burapha University. Both of purposes use the framework of symbolic interaction to explain the self of Vietnamese students in Burapha University. Besides, the article found that Vietnamese students had relationship in their particular group. It was appeared 2 groups of their selves; firstly, self-expression in Vietnamese students’ group in which difference of areas and taste of each person. Then, they moved to the new environment, so they combined to a unique group under “Nationalitiness” contribute and rely on each other. Secondly, self-expression of social self emerged from interaction between Vietnamese students and other groups. The expression of Vietnamese students’ selves base on nationalitiness and certain group through symbolic system such as clothing, language, and group’s combination. Finally, Vietnamese students adapted themselves following the environments, interaction to others, and times.Downloads
Issue
Section
Articles