แนวคิดการปรับตัวเชิงนิเวศในชุมชนเศรษฐกิจ เขียว-น้ำเงินในยุคโลกาภิวัตน์เพื่อการดำรงชีพ อย่างยั่งยืน: การทบทวนในเชิงทฤษฎี

Authors

  • สิตางศ์ เจริญวงศ์

Keywords:

ชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน, โลกาภิวัตน์, การปรับตัวเชิงนิเวศ

Abstract

          บทความเรื่อง แนวคิดการปรับตัวเชิงนิเวศในชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ในยุคโลกาภิวัตน์เพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืน: ข้อเสนอในนัยยะเชิงทฤษฎี เป็นบทความที่พยายามนำเสนอแนวคิดเรื่องการปรับตัวเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญ ที่จะนำมาใช้ชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ที่เป็นชุมชนชายฝั่งทะเล มีลักษณะเศรษฐกิจที่ ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติทั้งบางบกและทะเล ในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ได้ นำพาระบบทุนนิยมและบริโภคนิยม เข้าไปในชุมชนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้แนวคิดและทฤษฎีในการศึกษาที่มองหาทางเลือกใหม่ ในการพัฒนาชุมชนซึ่งข้อเสนอจากงานเขียนในบทความนี้มุ่งเสนอแนวคิดในเรื่องของ การปรับตัวเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นแนวคิดที่เน้นการปรับตัวของชุมชน ที่อยู่บนฐานของความห่วงใยสิ่งแวดล้อม เน้นการทำงานจากล่างขึ้นบน การบริหารจัดการโดยชุมชน บนพื้นฐานของประชาธิปไตยรากหญ้า ผสมผสานกับหลักการแห่งความยั่งยืนของธรรมชาติ โดยมีข้อเสนอในการศึกษาชุมชนตามแนวคิด การปรับตัวในชุมชนเศรษฐกิจ เขียว-น้ำเงิน เพื่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืน คือ ค้นหาข้อมูล เกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจและ ระบบนิเวศของเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงินในระดับชุมชน สังเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจ ระบบ นิเวศ ที่ชุมชนได้รับผลกระทบและจะต้องทำการแก้ไข มองดูบริบททางการเมืองระดับรากหญ้า ที่มีผลกระทบต่อการแก้ปัญหา ทำการวิเคราะห์วัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่เชื่อมโยงกับวิถีการดำรงชีพของประชาชนในปัจจุบัน วิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการโดยชุมชน ในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของชุมชน และนำเสนอแนวทางการปรับตัว ของชุมชนเศรษฐกิจเขียว-น้ำเงิน ไปสู่การสร้างความมั่นคงทางการ ดำรงชีพอย่างยั่งยืนของชุมชน           The concept of the ecological adjustment in the green-blue economic community in the globalization for the sustainable livelihood: The proposal in the theory is the article that attempt to propose the ecological adjustment concept to use in the green-blue economic community where is the coastal community with the economic figure depending on the natural resources of both land and sea. The tide of globalization brings capitalism and consumerism to the community which effects to local livelihood. It is essential to use the concept and theory to studying new alternative way for community developing. This research focuses on the proposal of the of the ecological adjustment concept applying to the community adaptation base on the environmental concern by emphasizing the bottom works, management by the community standing on the grassroots democracy, and blend of the principle for nature sustainability. The proposition of community study upon the concept of the ecological adjustment in the green-blue economic community in the globalization for the sustainable livelihood is to search the data relevant to the economic and ecology systems of the green-blue economic in the community level, synthesis the economic and ecological problems effected to the community together with their problem-solving processes, look at political aspect in the grassroots level which impacts to the problem-solving processes, analyze local culture and local culture and the local wisdom relating to people’s way of life at the present, assess to the community management system as to correct the community economic issue, and present a guideline of the green-blue economic community adaptation plan to achieve the sustainable career.

Downloads