กระบวนการสร้างรัฐชาติในพื้นที่ชายแดน : การเมืองระหว่างประเทศ รัฐไทยและผู้คนตามแนวชายแดนพื้นที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สมัยรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
Keywords:
กระบวนการสร้างรัฐชาติไทย, ชายแดน, อรัญประเทศ, จังหวัดสระแก้วAbstract
บทความชิ้นนี้ต้องการอธิบายกระบวนการสร้างรัฐชาติไทยในพื้นที่อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วซึ่งอธิบายผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองระหว่างประเทศ รัฐชาติ ผู้คนและการก่อกำเนิดของพรมแดนรัฐชาติโดยใช้รัฐไทยและพื้นที่พรมแดนอรัญประเทศจังหวัดสระแก้วเป็นหน่วยในการศึกษา ผู้เขียนได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น สามช่วงเวลาได้แก่ หนึ่ง บริบททางประวัติศาสตร์ก่อนการสร้างรัฐชาติ สอง กระบวนการสร้างรัฐชาติไทยในพื้นที่ชายแดนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว หลังปี พ.ศ. 2435 ถึง ปี พ.ศ. 2475 สาม กระบวนการสร้างรัฐชาติไทยในพื้นที่ชายแดนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว หลังปี พ.ศ. 2475 ถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นช่วงที่พรมแดนของรัฐชาติถูกกำหนดตายตัว อนึ่งรัฐชาติและพรมแดนของสยามเริ่มปรากฏเด่นชัดมากยิ่งขึ้นเมื่อการเกิดลัทธิล่าอาณานิคมซึ่งเป็นปัจจัยการเมืองระหว่างประเทศ บริบทดังกล่าวส่งผลให้สยามเข้าสู่กระบวนการสร้างรัฐชาติ เกิดการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินรวมถึงการขยายการคมนาคมสู่พื้นที่ชายแดนอย่างเป็นรูปแบบมากยิ่งขึ้น การปฏิรูปดังกล่าวนอกจากจะส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐส่วนกลางกับพื้นที่ชายแดนของรัฐแล้วยังส่งผลต่อผู้คนและบริบททางเศรษฐกิจสังคมในพื้นที่อีกด้วย This article discusses the power expansion of Thai state in the border area of Aranyaprathet district, Sa Kaeo Province, explained by the relationship between international politics, nation-state, people's movement, and the emergence of the national border by using Thai state and Aranyaprathet border area in Sa Kaeo province as the area study. The author divides the content into 3 main chapters: 1) Historical context before Nation-State Building Process 2) The Nation –State Building Process of Thai state in the border area of Aranyaprathet, Sa Kaeo Province during 1892-1932 3) The Nation-State Building Process of Thai state into the border area of Aranyaprathet, Sa Kaeo Province from 1932 to the end of World War II, when the borders of Thai state were fixed. Besides, the nation-stateness and boundaries of Siam were forced to define by the rise of colonization as an international political factor. As a result, Siam fully became a nation-state that reformed its own bureaucracy system and expanded its forms of transportation as well. The reformations resulted in a shift in the relationship between the central state and its borders and caused changes toward people and socio-economic context in the area.Downloads
Issue
Section
Articles