การพัฒนาท่าแรงบ่มซ้อนของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ในเขตภาคใต้ของลาวที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

Authors

  • คำแฝง สูนดาวเฮือง
  • จิตรกร โพธิ์งาม
  • นิศานาจ โสภาพล

Keywords:

ท่าแรงบ่มซ้อน/ นโยบายจินตนาการใหม่/ คุณภาพชีวิต

Abstract

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาท่าแรงบ่มซ้อนของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในเขตภาคใต้ของลาวที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน เป็นการค้นคว้าเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนามโดยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์บุคคลกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ 4 แขวงภาคใต้ของลาว โดยใช้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เป็นกรอบในการศึกษา          ผลการศึกษาพบว่า ท่าแรงบ่มซ้อน หมายถึง พลังซ่อนเร้นทุกรูปแบบ ได้แก่ พลังทางธรรมชาติ พลังทางสังคม เป็นต้น ที่ลาวขุดค้นและนำมาใช้ในการสร้างเขื่อนตามนโยบายแบตเตอรี่แห่งอาเซียน ผลจากการศึกษาให้ข้อสรุปว่า การสร้างเขื่อนไฟฟ้า พลังน้ำถือเป็นการนำใช้ท่าแรงบ่มซ้อนที่ถูกต้อง และสอดคล้องที่จะนำพาประเทศให้หลุดพ้นออกจากความด้อยพัฒนา เพียงแต่ต้องทำให้ดีและมีคุณภาพ มีเครื่องมือบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีความจริงใจที่จะพัฒนาอย่างแท้จริง ข้อเสนอจากบทความนี้ ต้องเอาแนวคิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมาเชื่อมโยงกับแนวคิดการบริหารจัดการน้ำ หมายความว่า คุณภาพชีวิตที่ดีต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี แต่การบริหารจัดการน้ำที่ดีนั้นจะต้องดำเนินการในรูปแบบใด ระหว่าง ภาครัฐเป็นผู้บริหารจัดการฝ่ายเดียว มอบให้ประชาชนเป็นผู้บริหารจัดการโดยถือเอาฮีตคองประเพณี หรือ ภาครัฐและชุมชนร่วมกันบริหารจัดการน้ำ ซึ่งทางเลือกหลังนี้น่าจะเหมาะสมที่สุด             This article aims to study latent potentials of hydroelectric power dam in southern region of Laos PDR influencing on sustainable development goals of the people (SDGs). Document investigation and field observation including interviews of the people in four study areas in the south were utilized in data collection. United Nations concept of sustainable development goals (SDGs) were the analysis framework.            Latent potentials means all kinds of power including natural and social powers that were hidden and waited for being investigated and utilized in dam building according to the ASEAN Battery policy of Laos government. Conclusion resulted from the study showed that hydroelectric power dam building was the right way in latent potential utilization and kept with the policy to liberate the country from the underdevelopment. Good and systemized management and instruments and commitment were the key success condition. This article proposes two concepts that is, people’s quality of life and water governance were integrated and utilized. This means good quality of life involved good water governance. Either water governance none by government only or done by the people through traditions only or both parties cooperatively done was the alternative. The later was likely to be the most appropriate choice.

Downloads