การทำเกษตรอินทรีย์ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกรณีศึกษาปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์

Authors

  • ณรงค์ กฤดิขจรกรกุล

Keywords:

เกษตรอินทรีย์/ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง/ การพัฒนาที่ยั่งยืน

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อศึกษาความสอดคล้องของการทำเกษตรอินทรีย์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปราชญ์ชาวบ้านมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการทำเกษตรอินทรีย์มีการจัดการความรู้ ตั้งแต่การสร้างประยุกต์ใช้ และมีการลองผิดลองถูกจนกระทั่งได้รับผลที่น่าพอใจจึงเผยแพร่ความรู้นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปัน และช่วยเหลือเกื้อกูล การทำเกษตรอินทรีย์สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 เป้าหมาย ได้แก่ การลดความยากจน การเข้าถึงความมั่นคงทางอาหาร การมีสุขภาพที่ดี การเข้าถึงระบบสุขาภิบาลและน้ำดื่มที่สะอาด การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน และการลดปัญหาโลกร้อน           The purposes of this study are to study the model of organic agriculture in accordance with the philosophy of sufficiency economy, and to study the consistence of the organic agriculture according to the philosophy of sufficiency economy with sustainable development. A qualitative research method was utilized. The study results found that folk gurus use the sufficiency economy philosophy as a tool for developing organic farming.  They manage knowledge through creation, application and trial. Until the results of their knowledge findings were satisfactory, they disseminate them to others. They organized a network of exchange, sharing and join hand to solving problem together. The Organic Agriculture is consistent with six items of a sustainable development goals, namely: no poverty, zero hunger, good health, access to clean water and sanitation, responsible consumption and production, and climate action.

Downloads