การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ ชายฝั่งทะเลตะวันออก สู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา: กรณีการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม

Authors

  • เมทินา อิสริยานนท์

Keywords:

ยุทธศาสตร์การพัฒนา, ขยะอันตราย, โรงงานอุตสาหกรรม, ฉะเชิงเทรา

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ทบทวนปัญหาการจัดตั้งโรงงานกำจัดของเสียอันตราย การขยายตัวของปัญหา และนำเสนอมาตรการในการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการลงพื้นที่สังเกตการณ์ มีข้อค้นพบที่สำคัญคือ สถานการณ์ปัญหาขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกมีจำนวนสูงมากจากการที่ภาคตะวันออกเป็นแหล่งอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศ การจัดตั้งโรงงานกำจัดของเสียอันตรายได้รับการคัดค้านการใช้พื้นที่จากการไม่ไว้วางใจในกระบวนการจัดการและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดในพื้นที่โดยรอบของโรงงานกำจัดขยะของเสียอันตราย ซึ่งจากการที่มีขยะอุตสาหกรรมจำนวนมากนำมาซึ่งการจัดการที่ไม่ถูกวิธี มีการลักลอบทิ้งในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งภาคตะวันออก โดยเฉพาะกรณีของตำบลหนองแหน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้งที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ แต่ได้กลายเป็นพื้นที่รองรับขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม และส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ สำหรับข้อเสนอมาตรการในการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม คือ (1) กำหนดให้นิคมอุตสาหกรรมแต่ละนิคมมีศูนย์รับบำบัดและกำจัดของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยไม่มีการนำออกไปนอกพื้นที่ (2) กำหนดมาตรการและส่งเสริมสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาการทิ้งขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมปะปนกับบ่อขยะชุมชน ที่ดินเอกชน หรือพื้นที่สาธารณะ (3) เปิดเผยข้อมูลและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำกับ ติดตาม ประเมินผล เกี่ยวกับสถานการณ์ การจัดการ และการแก้ไขปัญหาขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม (4) บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล กระบวนการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง (5) ปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายและบทลงโทษกับผู้กระทำผิดให้มีความรุนแรงขึ้นกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (6) ส่งเสริมให้เกิดกองทุนสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสุขภาวะที่ดีของประชาชนในชุมชน             This paper reexamines problems in the construction of hazardous waste disposal industries, a growing problem with hazardous waste management, and solutions to this problem. The research deals with qualitative methods on documentary analysis, interviews and field works. The research finds that a large volume of industrial hazardous wastes were produced in the eastern region of Thailand because this area is the large industrial zone of the country. However, the construction of hazardous waste disposal industries has been protested from the local people due to the mistrust of management processes and effects on the environment around the industries. A large number of hazardous wastes and the ineffectiveness of hazardous waste management in this area lead to illegal waste dumping throughout the eastern region, particularly in Nong-Nae sub-district, Chachoengsao province. This area becomes an unauthorised zone for disposing of industrial hazardous waste that has enormous impacts on the environment and increases health risks to the local people although there are not any industries in this area. Given the foregoing, the study suggests measures for industrial hazardous waste management in 6 steps as follows: (1) setting up a center of industrial hazardous waste treatment and disposal in every industrial estate, where any wastes are not allowed to take outside the area; (2) formulating measures to enhance a capacity of local administrative organisations in solving the problem of illegal dumping of industrial hazardous wastes in community-based solid waste disposal zones or public areas; (3) information should be transparent, and the process of people participation in supervising, monitoring and evaluating of the situations, management and solutions of industrial hazardous wastes should be promoted; (4) increasing integrity of all related parts to a supervision on management procedures of industrial hazardous wastes from the beginning to the end of the process with strict law enforcement (5) improving laws and increasing penalties for all offenders; and (6) encouraging the establishment of Community Environment Fund as an assurance to conserve and restore natural resources and environment in the local areas, and promote people's well-being in the community.

Downloads