เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการสะสมทุนเบื้องต้น: กรณีศึกษาการช่วงชิงที่ดินในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
Keywords:
การสะสมทุนเบื้องต้น, ที่ดิน, นิคมอุตสาหกรรม, การพัฒนาอุตสาหกรรมAbstract
บทความมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการช่วงชิงที่ดินในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกระบวนการช่วงชิงที่ดินใน การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการช่วงชิงที่ดินในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ได้แก่ หนึ่ง อุดมการณ์การพัฒนาของรัฐไทย ที่สะท้อนให้เห็นผ่านการสถาปนาทางอำนาจและครอบงำสังคมไทยว่าด้วยการพัฒนาประเทศ ผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ทางเศรษฐกิจ นโยบายนิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงานกับภาคเอกชน และนโยบายส่งเสริมการลงทุน สอง การสร้างเครือข่ายธุรกิจและการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทุนกับอำนาจรัฐ ผ่านการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบุคคล องค์กร และกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมของนายวิกรม กรมดิษฐ์ รวมทั้งการแสวงหาผลประโยชน์จากเครือข่ายอำนาจรัฐผ่านข้าราชการและนักการเมือง และสาม การแตกตัวทางชนชั้นในสังคมชุมชนท้องถิ่น จากฐานเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนที่อยู่บนฐานของเกษตรกรรมถูกทำลายหรือถูกลดความสำคัญลงไป ทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการคลายตัวและขาดความเป็นเอกภาพ จนนำมาสู่การแตกตัวทางชนชั้น ที่ทำให้ บจม. อมตะ คอร์ปอเรชั่น สามารถเข้าช่วงชิงและกว้านซื้อที่ดินในชุมชนท้องถิ่น ส่วนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากกระบวนการช่วงชิงที่ดินในการพัฒนาอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรีนั้น พบว่า มีผู้กระทำการหลัก ๆ ได้แก่ หนึ่ง กลไกรัฐ ในบทบาทของผู้สนับสนุนให้เกิดการช่วงชิงที่ดิน ผ่านนโยบายและการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ สอง กลุ่มทุนข้ามชาติ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังที่คอยผลักดันให้เกิดการลงทุนของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการนิคมอุตสาหกรรม สาม กลุ่มทุนชาติ เป็นผู้กระทำการหลักในการช่วงชิงที่ดินเพื่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร และสี่ กลุ่มทุนท้องถิ่น เป็นกลุ่มของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ที่มีปฏิกิริยาต่อการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมทั้งการสนับสนุน การต่อรอง และการต่อต้าน This paper focusing on factors that affect its process and also all stakeholders in the process. Given the foregoing, the study finds three main factors that involve in the process precipitating contention over land: the ideology of development of Thai state; the network system between business (private) and public sectors; and the class cleavage in local societies. The first factor hinges on the formation of force that produces a hegemonic power in terms of the developmental approach, i.e. the driving of industrial development, the developmental policies of economy and economic areas, the policies on the industrial estate and private sectors, and the investment promotion policies. The second factor is the joint activities between capital (private enterprises) and state power by building a good relationship between people, organizations, and all other groups. This particularly involves with the development of industrial estate managed by Mr. Vigrom Grompradit and the seeking of interests by the state power network through governmental officers and politicians. The last factor refers to the extirpation and the less important of agriculture sectors in local societies, which loosen and break the unity of local communities on the grounds of economic and social relations. This leads to the class cleavage of the local people which provides a chance to Amata Corporation Public Company Ltd in land grabbing. Regarding the stakeholders of the land contention, four key actors are involved: state mechanisms; transnational capital; state capital; and local capital. The first actor focuses on the roles of state in public policy making and the operation of public organizations that results in land grabbing. The second stakeholder supports the foreign investment to industrial enterprises and estates from the backstage. The third stakeholder is the main actor in the land contention of Amata Nakorn Industrial Estate. The final actor is the groups of local people in the industrial estate that act as a supporter, bargaining and resistance to the industrial estate.Downloads
Issue
Section
Articles