อิสลามโมโฟเบียในมุมมองเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม : ข้อเท็จจริง VS ความกลัว
Abstract
เศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Economics) มีพื้นฐานมาจากเศรษฐศาสตร์สัญชาตญาณสัตว์ (Animal Spirits) โดยพยายามอธิบายการตัดสินใจของผู้คนในฐานะมนุษย์จริง ๆ ที่เต็มไปด้วยสัญชาตญาณสัตว์ มีความหวาดกลัว รัก โลภ โกรธ และหลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัญชาตญาณแห่งความกลัวนับเป็นสัญชาตญาณที่ฝังแน่นอยู่ในมนุษย์เรา อันเป็นที่มาของโรคโฟเบียหรือโรคกลัวที่เกินกว่าความกลัวปกติ เนื่องจากสื่อต่าง ๆ มักใช้สัญชาตญาณความกลัวให้เป็นประโยชน์เพราะเป็นวิธีดึงดูดความสนใจที่ง่าย ความแตกตื่นเกินจริงยิ่งเข้มข้นขึ้นเมื่อความกลัวมากกว่าหนึ่งด้านได้รับการกระตุ้น ดังนั้น นักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมเชื่อมั่นว่าการขาดความเข้าใจดังกล่าวกำลังลวงเราให้เข้าใจโลกผิดไปอย่างกลับด้าน นำไปสู่นโยบาย ผิด ๆ การแก้ปัญหาไม่ถูกวิธีของรัฐบาล สุดท้ายจึงส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจโลกทรุด ตลาดสินเชื่อพังพินาศ และภาคเศรษฐกิจจริงเกือบล่มสลายตาม The fundamental of behavioral economics basically comes from animal spirits that try to explain the decision making as real humans who are full of animal instincts such as fear, love, greed, anger and delusion. Particularly, fear is an ingrained instinct inside us that causes of phobia (an extreme or irrational fear of or aversion to something). Various media tend to apply fear in order to attract the audiences because it is an easy way. Therefore, the behavioral economists believe that the lack of real understanding about this is fooling us back in the wrong perspectives which lead to incorrect policies and government solutions. Finally, resulting in the global economic system, real economy, and credit market is almost collapsing.Downloads
Published
2022-10-30
Issue
Section
Articles