การจัดการปกครองแบบร่วมคิดร่วมทำ (Collaborative Governance): ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างและนำไปปฏิบัติ

Authors

  • พัชราภา ตันตราจิน

Abstract

บทความปริทัศน์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความหมายและที่มาของทฤษฎีการจัดการปกครองแบบร่วมคิดร่วมทำ (Collaborative Governance) และปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จหรือล้มเหลว โดยเนื้อหาประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงความหมาย ความสำคัญและขอบเขตของ Collaborative Governance รวมไปถึงที่มาของ Collaborative Governance และความแตกต่างกับตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐอื่นๆ ในส่วนที่ 2 เรียบเรียงปัจจัยที่มีผลต่อการสร้าง Collaborative Governance และอุปสรรคเมื่อนำไปปฏิบัติ ประกอบด้วยปัจจัย 3 มิติ คือโครงสร้างและสถาบัน มิติลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและ มิติความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยอาศัยงานเขียนทางทฤษฎีและกรณีศึกษา เช่น Kirk Emerson (2012) John Abbott (2012) Chris Ansell and Alison Gash (2008) ฯลฯ             The review article explores the meaning and foundation of the theory of collaborative governance and the factors that influence its successes and failures. The first part discusses the meaning, scope, and significance of collaborative governance. It explores its foundation and differences from other models of public and non-public sector relationships. In the second part, the article discusses factors affecting the formation of collaborative governance and factors obstructing its implementation. These factors can be understood through three dimensions: the structural and institutional dimension, the stakeholders’ dimension, and the relationship between stakeholders. The literature review includes the works of Kirk Emerson (2012), John Abbott (2012), and Chris Ansell and Alison Gash (2008), to name only a few.

Downloads

Published

2022-10-30