เศรษฐศาสตร์การเมืองของการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิด : กรณีศึกษา การมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตชายแดนไทย - กัมพูชา จังหวัดสระแก้วและจังหวัดตราด

Authors

  • พรทิวา อาชีวะ
  • ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
  • จำลอง แสนเสนาะ
  • กนกวรรณ อยู่ไสว
  • ขวัญศิริ เจริญทรัพย์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ การมีส่วนร่วมของชุมชน และเสนอแนะภาคีสาธารณะในการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดในเขตชายแดนไทย-กัมพูชาของจังหวัดสระแก้วและตราด วิธีวิทยาการวิจัยจะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีกรณีศึกษาจากการวิจัยเอกสาร การศึกษาประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า การสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์กลุ่มย่อยจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของจังหวัดสระแก้วและจังหวัดตราดยังคงมีทุ่นระเบิดหลงเหลืออยู่และส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สินและสัตว์ป่า นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชน ทั้งสองจังหวัดมีความสามารถในการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา การแสวงหาทางเลือกใหม่และการวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดจากการมีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคมและทุนทางเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการพื้นที่ทุ่นระเบิดต้องอาศัยภาคีสาธารณะซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน และภาคประชาสังคม            The objective of this research is to study the situation. Community involvement and to advise public partners on the management of landmines in the Thai-Cambodian border of Sa Kaeo and Trat provinces Research methodology uses qualitative research using case study method from documentary research. Study of oral history, In-depth interviews, Small group interviews form steak holder, Including non-participatory observation. The study found that the situation in Sa Kaeo and Trat provinces still has landmines and affect their lives. Property and wildlife in addition, it was found that communities in both provinces were able to participate in problem analysis. Seeking new options and planning for mine management based on cultural capital. Social capital and economic capital. The management of landmines relies on a public partnership consisting of the government, private sector, community and civil society sectors.

References

กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2558). ร่างผังเมืองรวมคลองใหญ่จังหวัดตราด. เอกสารการประชุมเพื่อ ประกอบการให้ความเห็นด้านผังเมือง. (อัดสำเนา).

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2559). ปฏิบัติการวิจัยทางสังคม. จันทบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ณัฏฐนี เกิดสุคนธ์. (2543). ผลกระทบของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการห้ามใช้และการจำกัดการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล: กรณีศึกษาประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัญฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ostrom, E. (2002). Policy Analysis in the Future of Good Societies. The Good Society, 11(1), 42-48.

Katsamunska, P. (2016). The Concept of Governance and Public Governance Theories. Economic Alternatives, 2(June) 133-141.

Navarro, Z. (2006). In Search of a Cultural Interpretation of Power: The Contribution of Pierre Bourdieu. IDS Bulletin, 37(6). 11-22.

Downloads

Published

2022-10-31