ความสำคัญของเพชรบุรีและบทบาทของชนชั้นนำจากรัฐส่วนกลางต่อเมืองเพชรบุรีสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

The Importance of Phetchaburi and the Role of Elites from the Central State to Phetchaburi from the Ayutthaya Period to the Early Rattanakosin Period

Authors

  • ณัชชานุช พิชิตธนารัตน์

Keywords:

เพชรบุรี, ชนชั้นนำ, สกุลบุนนาค, รัตนโกสินทร์ตอนต้น, Phetchaburi, Elite, Bunnag family, Early Rattanakosin

Abstract

เพชรบุรีเป็นเมืองที่ชนชั้นนำไทย อันได้แก่ พระมหากษัตริย์ และขุนนางผู้มีอำนาจให้ความสำคัญและอยู่ในความสนใจในฐานะเมืองยุทธศาสตร์ของรัฐไทยมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากเมืองเพชรบุรีมีความพร้อมทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ หลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เพชรบุรีได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากชนชั้นนำ จากรัฐส่วนกลางซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจทั้งพระมหากษัตริย์และขุนนางกลุ่มสกุลบุนนาคที่มีอำนาจมาก เนื่องจากทั้งสองกลุ่มของชนชั้นนำต้องการเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำกับทรัพยากรของเพชรบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลผลิตที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ อันได้แก่ ข้าว เกลือ และน้ำตาล รวมทั้งผลผลิตอื่น ๆ ทั้งทางการเกษตรของป่าและทรัพยากรจากทะเล บทบาทการเป็นโครงสร้างอำนาจของตระกูลขุนนางใดตระกูลหนึ่งโดยเฉพาะไม่เกิดขึ้นในเมืองเพชรบุรี กระทั่งถึงช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 ขุนนางกลุ่มสกุลบุนนาคเริ่มเข้ามามีบทบาทเนื่องจากพบว่า เพชรบุรีเป็นแหล่งทรัพยาการสำคัญ และในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังการทำสนธิสัญญาบาวริ่งใน พ.ศ. 2398 ระบบเศรษฐกิจของรัฐไทยที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ความอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญทำรายได้ให้รัฐจำนวนมาก เพชรบุรีจึงเป็นแหล่งผลประโยชน์ที่สำคัญและได้รับความสนใจจากชนชั้นนำโดยพระมหากษัตริย์คือ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เข้ามาสอดส่องและคานอำนาจการกำกับดูแลและปกครองเมืองเพชรบุรีของสกุลบุนนาคเพิ่มมากขึ้น  Phetchaburi is a city where the Thai elite, particularly king and powerful nobles, have always been important and in the interest as a strategic city of Thai state since the Ayutthaya period due to its political, social and economic readiness. After establishing Rattanakosin, Phetchaburi had received a great attention from elites of the central state, who were the centers of power, both the king and the powerful of Bunnag family, as both groups of elites were keen to play an important role in regulating resources of Phetchaburi, where a strategically important source of crops such as rice, salt and sugar, among other crops both agriculture, forest and marine resources. The role of the power structure of any particular noble family did not take place in Phetchaburi until the reign of King Rama III.  Bunnag family began to play a critical role because they discovered Phetchaburi was an important resource and in the reign of King Rama IV, after the Bowring Treaty in 1855, the economic system of Thai state changed dramatically. Its fertility and being an important source of production generated a large amount of revenue for the state. Phetchaburi was therefore a significant source of interest and received an attention of the elites, especially the king Rama IV and Rama V who came to inspect and beam more power to supervise and rule Phetchaburi of the Bunnag family.

References

คมเนตร ญาณโสภณ. (2534). อำนาจท้องถิ่นแบบจารีตและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่นในยุคเทศาภิบาล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2558). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มติชน.

ชุมนุมพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคที่ 3 หมวดราชจารีตโบราณ. (2474). พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

ญาดา ประภาพันธ์. (2527). ระบบเจ้าภาษีนายอากรสมัยกรุงเทพ ฯ ยุคต้น. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยจนถึง พ.ศ. 2484. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นวลสวาท อัศวินานนท์. (2535). ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของเมืองเพชรบุรี (พ.ศ. 2400-2460). วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2529). การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2539). คำถามถึงอนาคตของระบบอุปถัมภ์ไทย. สองหน้าสังคมไทย. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.

บลัดเลย์, แดน บีช. (2508). จดหมายเหตุเรื่องมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาในประเทศสยาม. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 31 (แปลโดย ป่วน อินทุวงศ์). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ประชุมพงศาวดารฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 1-50. (2505-2527). พระนคร: องค์การค้าของครุสภา.

ปิยะฉัตร ปิตะวรรณ. (2526). ระบบไพร่ในสังคมไทย พ.ศ. 2411-2453. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ซิลค์เวอร์ม.

เพชรบุรี. จังหวัด (2525). สมุดเพชรบุรี 2525. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

มนู อุดมเวช. (2531). รายงานการวิจัย เรื่อง เพชรบุรีสมัยอยุธยา และ รัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: โครงการศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น กรมการฝึกหัดครู.

ศาลารัฐบาลมณฑลราชบุรี. (2468). สมุดราชบุรี. พระนคร: โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.

สิริลักษณ์ ศักดิ์เกรียงไกร. (2522). ต้นกำเนิดชนชั้นนายทุนในประเทศไทย พ.ศ. 2398-2445. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2551, 24 มิถุนายน). สยามประเทศไทย ช่องสิงขร ประจวบคีรีขันธ์ 3,000 ปีมาแล้ว เส้นทางข้ามคาบสมุทร อ่าวไทย-อันดามัน. มติชน. หน้า 20.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (จ.ศ. 1171-1173). จดหมายเหตุรัชกาลที่ 2.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 4 เล่ม 5.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 เลขที่ 172/8 เรื่องพระยาศรีพิพัฒน์ขอพระราชทานทำบาญชีผูกปี้จีน.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ม. 2.12 ก/1. ใบบอกเมืองเพชรบุรี. กันยายน ร.ศ. 91- มีนาคม ร.ศ. 104.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ม. 2.12 ก/4. ใบบอกเมืองพิจิตร. 23 ตุลาคม ร.ศ. 108.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารรัชกาลที่ 5 ร.ศ. 113.

Downloads

Published

2023-07-10