การเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตย: ศึกษาเปรียบเทียบประเทศเกาหลีใต้ และเมียนมา

Transition from Dictatorship to Democracy A Comparative Study of South Korea and Myanmar

Authors

  • ไพรินทร์ มากเจริญ

Keywords:

การเปลี่ยนผ่านไปเป็นประชาธิปไตย, เผด็จการ, เกาหลีใต้, เมียนมา, Democratic Transition, Dictatorship, South Korea, Myanmar

Abstract

การศึกษาเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตย ศึกษาเปรียบเทียบประเทศเกาหลีใต้และเมียนมา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยของประเทศเกาหลีใต้และเมียนมา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความยั่งยืนของประชาธิปไตยในประเทศเมียนมา ใช้วิธีการศึกษาด้วยการสังเคราะห์ผ่านการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยรวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีขอบเขตเวลาในการศึกษาถึงการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศเมียนมาใน ค.ศ. 2015 ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบอบเผด็จการสู่การเป็นประชาธิปไตยของประเทศเกาหลีใต้และเมียนมา สามารถสรุปได้ว่าการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจ อิทธิพลจากระบบระหว่างประเทศและภายนอก รวมทั้งบทบาทของตัวแสดงทางการเมือง เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยได้ ในกรณีของเกาหลีใต้เมื่อเปลี่ยนผ่านแล้ว ก็สามารถสร้างประชาธิปไตยให้ยั่งยืนและมั่นคงได้ทั้งในระดับพฤติกรรมและทัศนคติ เนื่องจากตัวแสดงทางการเมืองของเกาหลีใต้ในทุกระดับต่างก็ให้ความเชื่อมั่นในความชอบธรรมของประชาธิปไตย และยึดถือเป็นรูปแบบในการปกครอง และ 2) การสร้างความยั่งยืนของประชาธิปไตยในประเทศเมียนมาไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะกลุ่มชนชั้นนำและกองทัพยังคงยึดมั่นในระบอบอำนาจนิยม และไม่ดำเนินไปตามวิถีทางของประชาธิปไตยที่แท้จริง แม้ว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2015 แต่รัฐบาลยังคงปกครองแบบอำนาจนิยมเสรีที่เอื้อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จากต่างประเทศและชนชั้นนำในรัฐชาติพันธุ์ เท่านั้น  The study on “Transition from Dictatorship to Democracy: A Comparative Study of South Korea and Myanmar” aimed to 1) Study the causes that led to the transition from dictatorship to democracy in South Korea and Myanmar, and 2) Analyze the sustainability of democracy in Myanmar. The study was conducted through a review of literature and research papers as well as relevant documents, focusing on the period up to the general election in Myanmar in 2015. The study found that 1) the causes that led to the transition from dictatorship to democracy in South Korea and Myanmar can be summarized as the modernization of the country through economic development, international and external influences, and the role of political actors. In the case of South Korea, once the transition took place, was able to establish a stable and enduring democracy, both in behavior and attitude, because political actors at all levels demonstrated confidence in the fairness of democracy and adhered to it as a form of governance. And 2) the establishment of a sustainable democracy in Myanmar could not occur because the leading group and the military remained committed to dictatorship and did not follow the path of true democracy. Although there was a government resulting from the 2015 election, it continued to govern in a liberal authoritarian manner, favoring large foreign businesses and the national elite.

References

ไชยวัฒน์ ค้ำชู และนิธิ เนื่องจำนงค์. (2559). การเมืองเปรียบเทียบ ทฤษฎี แนวคิด และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระ นุชเปี่ยม. (2558). สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์. (2556). ทุนนิยมกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเมียนมา. เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ สถาบันเอเชียศึกษา ปี 2556 “การเมืองและความมั่นคงใหม่ในเอเชีย” วัน อังคารที่ 17 ธันวาคม 2556. ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดุลยภาค ปรีชารัชช. (2554). จับกระแส ยุทธศาสตร์การเมืองเมียนมา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2558). ผลเลือกตั้งเมียนมาล่าสุด พรรค “ซูจี” กวาด 77% รวม 880 ที่นั่งในสภา. วันที่ ค้นข้อมูล 15 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จากhttps://mgronline.com/indochina/detail/9580000127107

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2558). ประชาธิปไตยไม่ใช่เป๊ปซี่ ว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการจากมุมมองของรัฐศาสตร์. วันที่ค้นข้อมูล 15 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก http://www.ftawatch.org/node/46518

วิเชียร อินทะสี. (2556). พลวัตความเป็นประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ : จากอำนาจนิยมสู่ประชาธิปไตยที่ มั่นคง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทร วาที และปรัชญ์ ไพรัชกร. (2522). ล้มเผด็จการ ปักจุงฮี. กรุงเทพฯ: โคมทอง.

BBC News ไทย. (2563). เลือกตั้งเมียนมา 2020 : กับข้อครหาไม่เป็นประชาธิปไตย. วันที่ค้นข้อมูล 1 กันยายน 2566, เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/international- 54820800

ภาษาอังกฤษ

Dickovick, J. T., & Eastwood, J. (2016). Comparative Politics: Integrating Theories, Methods, and Cases (2nd edition). USA: Oxford University Press.

Inglehart, R., & Welzel, C. (2005). Modernization, Cultural Change, and Democracy: The Human Development Sequence. New York: Cambridge University Press.

Huntington, S. P. (1991). The Third Wave: Democratization in the Late Twentieth Century. London: University of Oklahoma Press.

Downloads

Published

2024-01-05