พัฒนาการของคัพภะและระยะเวลาของการฟักไข่ในปูม้าเพศเมียที่มีไข่นอกกระดอง
Embryonic Development and Incubation Period of Egg in Ovigerous Female Blue Swimming Crab (Portunus Pelagicus Linnaeus, 1758)
Keywords:
พัฒนาการของคัพภะ , ระยะเวลาการฟักของไข่, ปูม้าเพศเมียที่มีไข่นอกกระดอง, egg development, incubation period of egg, ovigerous female blue swimming crabAbstract
ทำการศึกษาพัฒนาการของคัพภะและระยะเวลาของการฟักไข่ในปูม้า (Portunus pelagicus) เพศเมียที่มีไข่นอกกระดอง ที่ปล่อยไข่ออกมาติดไว้ที่ส่วนท้องใหม่ ๆ จากการศึกษาพบว่า ไข่ปูม้าใช้เวลาในการพัฒนาของคัพภะตั้งแต่ไข่เริ่มออกมาติดที่บริเวณส่วนท้องจนกระทั่งฟักออกเป็นซูเอียประมาณ 211 ชั่วโมง หรือประมาณ 9 วัน ที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส โดยมีปริมาตรเพิ่มขึ้น 85.36 เปอร์เซ็นต์ และมีระยะการพัฒนา คือ ระยะคลีเวจและบลาสตูลา ระยะแกสตรูลา ระยะเกิดจุดตาและเม็ดสี และระยะหัวใจเต้น ตามลำดับ ซึ่งในระหว่างการพัฒนานั้น ปริมาตรของไข่ปูจะเพิ่มขึ้นตามระยะการพัฒนา มีรงควัตถุสีดำเพิ่มขึ้น และมีปริมาณของไข่แดงลดลง ทำให้สีของไข่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะการพัฒนา Embryonic development and incubation period of portunid crab eggs were studied in Newly spawned ovigerous female blue swimming crab, Portunus pelagicus Linnaeus, 1758. It has been found that incubation period was approximately 211 hours or 9 days at temperature 25-27 ํC. Egg volume increased by 85.36%. Stages of development are cleavage-blastula stages, gastrula stage, eyespot and pigmentation stages and heart-beating stage, respectively. During development, egg volume consistently increased. The dark pigment also increased., whereas the amount of yolk decreased which result in changing the color of egg during development.References
กรมประมง. (2548). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546. เอกสารฉบับที่ 6/2548. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 91 หน้า.
กรุณา สัตตมาศ. (2532). การอนุบาลลูกปูม้าวัยอ่อนให้มีอัตราการรอดสูง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 2. กลุ่ม พัฒนาแหล่งประมง ศูนย์พัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน กองประมงทะเล กรมประมง, กรุงเทพฯ. 32 หน้า.
เขียน สินอนุวงศ์. (2520). การศึกษาชีววิทยาของปูม้า Portunus pelagicus (Linaeus) ในอ่าวไทย. รายงานวิชาการ ฉบับที่ 14/2520. งานสัตว์น้ำอื่น ๆ กองประมงทะเล กรมประมง. กรุงเทพฯ. 24 หน้า.
บรรจง เทียนส่งรัศมี. (2549). ปูม้า สัตว์เศรษฐกิจฟื้นฟูชีวิตชาวประมง. วารสารอัพเดท, 37-46.
บรรจง เทียนส่งรัศมี และบุญรัตน์ ประทุมชาติ. (2545). ปูทะเล. เอกสารเผยแพร่เครือข่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมพืชและสัตว์น้ำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย. 264 หน้า.
Davies, P.S. (1968). A constant pressure respirometer for medium-sized animals. Oikos, 17, 108-112.
Hamasaki, K. (2002). Effect of Temperature on the egg incubation period, survival and developmental period of larvae of the mud crab Scylla serrata (Forkal) (Brachyura: Portunidae) reare in the laboratory. Aquaculture, 219, 561-572.
Helluy, S.M., & Beltz, B.S. (1991). Embryonic development of the American lobster (Homarus americanus): Quantitative staging and characterization of an embryonic molt cycle. Biol. Bull., 180, 355-371.
Leelapiyanart, N. (1996). Ecophysiology Studies on Developing and Ovigerous Females of Intertidal Crabs. Thesis submitted in fulfillment on the requirements for degree of Doctor of physiology in Zoology, University of Canterbury, New Zealand.
Li, D. (2002). The combind effects of temperature and diet on development and survival of a Spider crab. Misumenops tricuspidatus (Fabricius) (Araneae: Thomisidae). Journal of Thermal Biology, 27, 83-93.