การปนเปื้อนเชื้อรา และการควบคุมเชื้อราในอากาศภายในสถานบริการสปา
Keywords:
เชื้อราในอากาศ, สปา, Airborne fungi, SpaAbstract
บทคัดย่อ การตรวจประเมินการปนเปื้อนของเชื้อราในอากาศ และการจัดการควบคุมเชื้อรา ภายในสถานบริการสปา จำนวน 3 แห่งใน กรุงเทพฯ โดยใช้วิธีการ Settle plate โดยการเปรียบเทียบปริมาณเชื้อราภายในอากาศระหว่างภายในและภายนอกอาคาร จำนวน 8 จุด ในแต่ละแห่งพบว่าปริมาณการปนเปื้อนเชื้อราของสถานบริการสปาทั้ง 3 แห่ง มีน้อยกว่าร้อยละ 80 ของเชื้อราภายนอกอาคาร แสดงว่าสถานบริการทั้ง 3 แห่ง ไม่มีความเสี่ยงทางสุขภาพต่อการสัมผัสเชื้อราในอากาศ โดยเชื้อราทั่วไปที่พบ คือ Scedosporium spp. Penicillum spp., Cladosporium spp. และ Alternaria spp. จากการหาปริมาณเชื้อราทั้งหมด (Total fungal count) ที่ปนเปื้อน ด้วยวิธีป้ายเชื้อ (Swab) จากพื้นภายในสปา พบว่ามีปริมาณเชื้อราทั้งหมดเฉลี่ยในสปาที่ 1 สปาที่ 2 และสปาที่ 3 ครั้งแรก (D0) เป็น 9.2x102, 1.2x103 และ 9.5x102 CFU/inch2 ในการป้ายเก็บเชื้อครั้งที่ 2 (D1) มีปริมาณเชื้อราลดลงเป็น 4.4x102, 7.5x102 และ 5.2x102 CFU/inch2 และในการสุ่มป้ายเก็บเชื้อครั้งสุดท้าย (D2) เป็น 6.5x102 , 5.2x102 และ7.2 x102 CFU/inch2 ตามลำดับ ซึ่งรากลุ่มเด่นที่พบ โดยวิธีการป้ายเชื้อนี้ พบเป็นราจีนัสเดียวกันกับที่เก็บในอากาศด้วยวิธี settle plate ภายในสถานบริการสปาทั้ง 3 แห่ง หลังจาก การจัดการลดการปนเปื้อนของเชื้อราในสถานบริการสปา พบว่าค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพในการกำจัดการปนเปื้อนของเชื้อราและ การควบคุมเชื้อราในอากาศภายในแต่ละสปา คือร้อยละ 11.4, 10.3 และ 8.3 ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของอัตราการสะสม ของเชื้อราภายในสถานบริการสปาคือ -0.08, -0.17 และ 0 CFU/วัน ตามลำดับ ดังนั้นมาตรการที่ใช้ในการควบคุมเชื้อราในสปาเหมาะสมสำหรับลดการปนเปื้อนของเชื้อราในสถานบริการสปาได้ดี ABSTRACT Fungal contamination and control management of the airborne fungi in 3 spa buildings were investigated with the settle plate method. This method was used for comparison of quantity of the airborne fungi between indoor and outdoor around 8 areas. There was 80% less fungi indoor than outdoor at each spa. Therefore, the 3 spa buildings revealed less health risks from fungal contamination in the air. The most common fungi are Scedosporium spp., Penicillium spp., Cladosporium spp. and Alternaria spp. In examining the amount of fungal contamination in spa buildings by a total fungal count technique using swab in collection of sample in the sampling area, it was found that the averages of total fungal count in the 1st spa, 2nd spa and 3rd spa with the first swab (D0) were 9.2x102, 1.2x103 and 9.5x102 CFU/inch2, the 2nd swab (D1) were reduced to 4.4x102 , 7.5x102 and 5.2x102 CFU/inch2 and the last swab (D2) were 6.5x102, 5.2x102 and 7.2 x102 CFU/inch2, respectively. The predominant fungi using the swab method are the same fungal genera as the airborne fungi collected with the settle plate method from all 3 spa buildings. The average of the efficiency in eliminating fungal contamination by control management of the airborne fungi in 3 spa building are 11.4%, 10.3% and 8.3% respectively. The average of fungal accumulation rate are -0.08, -0.17 and 0% CFU/day respectively. So that, the fungal control management is appropriate to be used to reduce fungal contamination in the spa buildings.Downloads
Issue
Section
Articles