การกระจายเชิงพื้นที่และเวลาของอัตราตกทับถมของตะกอนบริเวณอ่าวไทยตอนบน
Keywords:
อ่าวไทยตอนบน, อัตราตกทับถม, ตะกอน ตะกั่ว-210, Upper Gulf of Thailand, Accumulation rate, SedimentAbstract
บทคัดย่อ ได้ศึกษาอัตราตกทับถมของตะกอนบริเวณอ่าวไทยตอนบนโดยวิธีวัดกัมมันตภาพรังสี ของตะกั่ว-210 ในแท่งตะกอนเมื่อวิเคราะห์ลักษณะการกระจายตัวของอัตราตกทับถมของตะกอนเชิงพื้นที่พบว่าแท่งตะกอนบริเวณปากแม่น้ำซึ่งมีน้ำลึกไม่เกิน 10 เมตร ตะกอนจะมีการผสมผสานมาก แท่งตะกอนเหล่านี้ไม่สามารถใช้ในการประเมินอัตราตกทับถมของตะกอนได้ อัตราตกทับถมของตะกอนสูงสุดมีค่า 0.490 g/cm2/yr พบที่กึ่งกลางของอ่าวค่อนไปทางฝั่งตะวันตก การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของอัตราตกทับถมของตะกอนพบว่าฝั่งตะวันตกมีแนวโน้มสูงกว่าทางฝั่งตะวันออก การกระจายตัวเชิงเวลาพบว่าอัตราตกตะกอนทางฝั่งตะวันตกของอ่าวมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนอัตราตกทับถมของตะกอนทางฝั่งตะวันออกมีแนวโน้มคงที่ ค่าเฉลี่ยของอัตราตกทับถมของตะกอน และ Inventories210 Pbexของตะกอนในอ่าวไทยตอนบนมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่ได้เคยศึกษาไว้ ABSTRACT Sediment accumulation rate of the upper Gulf of Thailand were studied using 210Pbex sediment depth profile. Spatial distribution of the accumulation rate revealed cores from the intertidal zone near the river delta, with a water depth less than 10 m, exhibited sediment mixing throughout the cores. These cores were not suitable fordetermination of sediment accumulation rate. The highest accumulation rate, 0.490 g/cm2/yr, was found at the station near the middle close to the west side of the Gulf. The accumulation rates in the western half were higher than those in the eastern half of the Gulf. Temporal variation showed cores in the western half of the gulf have sedimentation rates that were increasing with time while as cores in the eastern half showed their sedimentation rates that tended to be constant. The average sediment accumulation rates as well as the inventories of 210Pbex in the sediment cores were in concordance with the corresponding values reported before.Downloads
Issue
Section
Articles