การศึกษาประสิทธิภาพและผลกระทบของการใช้สารคอปเปอร์ซัลเฟต ในการกำจัดสาหร่ายพิษในแหล่งน้ำ ของกองทัพอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง

Authors

  • สิริแข พงษ์สวัสดิ์
  • สุทธวรรณ สุพรรณ
  • วลีวรรณ แฉ่งประเสริฐ

Keywords:

คอปเปอร์ซัลเฟต, สาหร่ายพิษ, คุณภาพน้ำ, กองทัพอากาศ ดอนเมือง, Copper sulfate, Toxic Algae, Water quality, Air Force, Donmuang

Abstract

บทคัดย่อ          การศึกษาประสิทธิภาพและผลกระทบของการใช้สารคอปเปอร์ซัลเฟตในการกําจัดสาหร่ายพิษในสระน้ำของพื้นที่กองทัพอากาศดอนเมือง เป็นระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม (ก่อนทดสอบด้วยสารคอปเปอร์ซัลเฟต) และเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน(หลังทดสอบด้วยสารคอปเปอร์ซัลเฟต) พ.ศ. 2554 จํานวน 5 จุดเก็บตัวอย่าง ได้แก่ สระน้ำข้างตลาดโต้รุ่ง 2 คูระบายน้ำหน้าโรงเรียน ฤทธิยะวรรณาลัย คูระบายน้ำหลังบ้านพักเรือนแถว เขต 2 ซอย 5 คูระบายน้ำหน้าโรงกรองน้ำสโมสรประทวน และคูระบายน้ำ หน้าสโมสรประทวน จากการศึกษาพบว่า สระน้ำข้างตลาดโต้รุ่ง 2 มีความหลากหลายของสาหร่ายมากที่สุดโดยพบทั้งหมด 7 หมวด 75 ชนิด จากการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สารคอปเปอร์ซัลเฟต พบว่าสามารถบําบัดสาหร่ายพิษให้ลดลงได้ 8 ชนิด ได้แก่ Microcystis aeruginosa (Kützing) Kützing, Anabaena catenulaKützing ex Bornet & Flahault, Oscillatoria limosavar. tenuis Seckt, Phormidium sp.1, Pseudanabaena limnetica (Lemmermann) Komárek, Pseudanabaena sp.1, Oscillatoria tenuis var.asiatica Wille และ Pseudanabaena galeata Böcher แต่ยังคงมีการเจริญเติบโตของสาหร่ายที่บ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำไม่ดีอยู่เสมอเนื่องจากในแหล่งน้ำรับการปนเปื้อนจากสารอินทรีย์อยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้คุณภาพน้ำไม่ดีขึ้นหลังการใช้สารคอปเปอร์ซัลเฟต และจากการศึกษาผลกระทบของการใช้สารคอปเปอร์ซัลเฟตในดิน พบว่าดินทั้ง 5 จุดเก็บตัวอย่างมีปริมาณธาตุเหล็ก แมงกานีส และทองแดงสะสม อยู่ในปริมาณที่สูงกว่าคุณสมบัติทางเคมีทั่วไปของดินเป็นจํานวนมาก ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศทางน้ำและดิน ทําให้ไม่เหมาะสมในการนําดิน ไปใช้สําหรับการเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฯลฯ เมื่อพิจารณาตามมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินที่กําหนดโดยประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2537 โดยพิจารณาปัจจัยทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยเฉพาะปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์และปริมาณ แอมโมเนีย-ไนโตรเจน พบว่าสระน้ำข้างตลาดโต้รุ่ง 2 คูระบายน้ำหน้าโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย คูระบายน้ำหน้าโรงกรองน้ำสโมสร ประทวน และคูระบายน้ำหน้าสโมสรประทวนอยู่ในประเภท 3-4 ส่วนคูระบายน้ำหลังบ้านพักเรือน แถวเขต 2 ซอย 5 จัดอยู่ในประเภทที่ 4 โดยสามารถนําไปอุปโภค บริโภคได้โดยต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อน ABSTRACT          The efficiency and effect of copper sulfate for toxic algal elimination in different water sources located around Air Force compound, Donmuang were investigated for five months. The study started in May 2011 when the water sources had not been treated with copper sulfate. However, from June to September 2011, each water source was later treated with copper sulfate. Water samples were collected from 5 sampling sites: the pond beside the night market No.2 and four other different sites along the narrow water passage circulating in the Air Force compound namely the sample sites in front of Rittiyawannalai High School, behind the row of houses in Zone 2, Soi 5, in front of the water filter plant of the Commission Club and the Commission Club. The results showed that the highest diversity of algae with 7 divisions 75 species were found in the pond beside the night market No.2. Copper sulfate was effective in elimination of 8 species of toxic algae. The eliminated toxic algae were Microcystis aeruginosa (Kützing) Kützing, Anabaena catenula Kützing ex Bornet & Flahault, Oscillatoria limosa var. tenuis Seckt, Phormidium sp.1, Pseudanabaena limnetica (Lemmermann) Komárek, Pseudanabaena sp.1, Oscillatoria tenuis var. asiatica Wille and Pseudanabaena galeata Böcher. The remaining algae whether toxic or non-toxic still proliferated and were used as indicators of the eutrophication status of such water. Since the water circulating in the Air Force compound had been constantly contaminated by organic matter existing in waste water from the Air Force community, the water quality had not been improved even after the treatment with copper sulfate. The result of the effect of copper sulfate in soil shown that soil samples from 5 sampling sites contained high amount of Ferric, Manganese and Copper. These amounts are higher than general soil chemical parameters and badly affected aquatic and soil ecosystem that unsuitable for agriculture and aquaculture etc. According to the standard of surface water quality defined by National Environmental Committee of Thailand (1994) based on physical-chemical factors and biological factors especially in the biochemical oxygen demand and ammonia-nitrogen, the water quality of the pond beside the night market No.2 and the three other sites along the narrow water passage in the Air Force compound could be classified into the third to fourth category. The water quality at the site behind the row of houses in Zone 2, Soi 5 could be classified into the fourth category. However, the water could be used for household consumption after special water treatment process

Downloads