ศักยภาพการทดแทนประชากรปะการังในแนวปะการังจังหวัดระยองหลังจากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาว ปีพ.ศ. 2553

Authors

  • นรินทร์รัตน์ คงจันทร์ตรี
  • อัญชลี จันทร์คง
  • สุวรรณา ภาณุตระกูล
  • วิภูษิต มัณฑะจิตร

Keywords:

ปะการังฟอกขาว, การฟื้นตัว, ตัวอ่อนปะการัง, จังหวัดระยอง, Coral bleaching, Recovery, Coral recruits, Rayong

Abstract

บทคัดย่อ        เหตุการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2553 นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งต่อแนวปะการังใน พื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทย ระดับความรุนแรงของการฟอกขาวและสถานภาพของแนวปะการังหลังจากการฟอกขาวจะส่งผลต่อความสามารถและระยะเวลาที่ใช้ในการฟื้นตัวตามธรรมชาติของแนวปะการัง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินศักยภาพการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการังในจังหวัดระยอง โดยสำรวจ 1) สถานภาพทรัพยากรปัจจุบันของแนวปะการัง 2) การทดแทน ประชากรในพื้นที่โดยพิจารณาจากชนิดและความหนาแน่นของการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังบนแผ่นกระเบื้อง และ 3) การเจริญเติบโต ของปะการังวัยอ่อนที่รอดตาย ผลการศึกษาพบว่าแนวปะการังในจังหวัดระยองส่วนใหญ่อยู่ในสภาพเสียหาย มีปะการังโขด (Porites spp.) วงศ์ Poritidae, ปะการังก้อนในวงศ์ Faviidae และ Mussidae เป็นชนิดเด่น การลงเกาะของตัวอ่อนในธรรมชาติพบตัวอ่อนปะการังในวงศ์ Mussidae (48.4%) และ Faviidae (19.4%) ลงเกาะปีละสองครั้งในฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-มีนาคม) และต้นฤดูหนาว (ตุลาคม-พฤศจิกายน) และพบตัวอ่อนปะการังโขด (Porites spp., 29%) ลงเกาะได้ตลอดทั้งปี สำหรับปะการังวัยอ่อนที่รอดตายจากการฟอกขาวพบปะการัง เขากวาง (Acropora spp.) มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด ส่วนปะการังสมองร่องใหญ่ (Symphyllia spp.) มีค่ารองลงมา ABSTRACT         Coral bleaching in 2010 was one of the major events that strongly impacted coral reefs along the coast of Thailand. The severity of bleaching may have had various impacts among coral taxa, and may determine the time and ability to recovery naturally. The objective of this work was to assess recovery potential of coral reefs in Rayong province via 1) examination of current coral reef status, 2) evaluated recruitment to coral populations in the study area using information on species and abundance of newly settled larvae on settlement plates and 3) growth rates of juvenile colonies which survived the bleaching event. Results of the study showed that many reefs in Rayong province were in poor condition, with Porites spp. (Poritidae), faviids (Faviidae) and mussids (Mussidae) dominating the reefs. New recruits settled in situ were comprised of Mussidae (48.4%) and Faviidae (19.4%) that settled twice a year during summer (February-March) and before winter (October – November), while Porites spp. recruits (29%) settled all year round. Among the juvenile colonies that survived coral bleaching in 2010, Acropora spp. had the highest growth rate followed by Symphyliia spp. 

Downloads