อิทธิพลความเย็นของพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์
Keywords:
ความชื้นสัมพัทธ์, ความเข้มแสง, พื้นที่สีเขียว, อิทธิพลความเย็น, อุณหภูมิอากาศAbstract
ศึกษาอิทธิพลความเย็น (Cooling Effect) ของพื้นที่สีเขียวต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ ในเขตพื้นที่ชุมชนเมือง เลือกศึกษาพื้นที่สีเขียวสองแห่งที่มีขนาดแตกต่างกัน ได้แก่ สวนวงเวียนพหลฯ24 ขนาด 1.2 ไร่ และสวนป่าประชานิเวศน์ขนาด 10 ไร่ ระหว่างช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว นอกจากนี้ยังศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับความเข้มแสง ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิพื้นผิวลักษณะต่างๆ ผลการวิเคราะห์พบความสัมพันธ์เกิดขึ้นในเชิงบวก (Positive Correlation) กล่าวคือ ระดับความเข้มแสงแปรผันตรงกับระดับอุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิพื้นผิว ได้ผลการศึกษาในลักษณะเดียวกันในบริเวณที่โล่ง และบริเวณพื้นที่สีเขียวที่มีร่มเงาช่วยในการบดบังแสง สวนป่าประชานิเวศน์ซึ่งเป็นสวนขนาดใหญ่ จะพบระดับอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยต่ำกว่า และพบระดับความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงกว่าสวนวงเวียนพหลฯ24 บริเวณที่พบระดับอุณหภูมิอากาศต่ำจะเป็นบริเวณพื้นที่ภายในสวนซึ่งประกอบไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม และต้นหญ้าปกคลุมพื้นดินที่มีอัตราการได้รับแสงต่ำ ส่วนบริเวณที่พบระดับอุณหภูมิอากาศสูง จะเป็นบริเวณพื้นที่ภายนอกสวนโดยรอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โล่งปราศจากต้นไม้ใหญ่บดบังแสงอาทิตย์ นอกจากนี้พื้นที่ทั้งสองยังพบอิทธิพลความเย็นของพื้นที่สีเขียวในระดับที่แตกต่างกัน ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศภายในบริเวณพื้นที่สีเขียวมีระดับต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก โดยสวนป่าประชานิเวศน์มีแนวโน้มในการเกิดอิทธิพลความเย็นที่ดีกว่าสวนวงเวียนพหลฯ24 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่สีเขียวมีความสามารถในการช่วยลดระดับอุณหภูมิอากาศในบริเวณใกล้เคียงได้ในระดับหนึ่ง In this study, the cooling effect of urban green areas on air temperature and relative humidity is investigated. In order to compare the maximum and minimum values from green areas of different sizes, two parks were selected: a small one, Wongweinpahon 24 Park and a large one, Prachanivech Park and the following factors considered: solar intensity, surface temperature, air temperature and relative humidity. The correlation analysis results between solar intensity and all temperature values show positive correlation relations. The average values from the two parks show that Prachanivech Park had lower on air temperature and higher on relative humidity than Wongweinpahon 24 Park. The high temperature values were often found in the surrounding of the parks, either in open field or grassland areas that have low shade from trees. Conversely, the lower temperature values were often found inside the park areas that have more shade from trees. With its large green area, Prachanivech Park has a more cooling effect trend than Wongweinpahon 24 Park, which has a smaller green area. Thus, as a result of their cooling effects, green areas were therefore found to have the ability to decrease the surrounding air temperature.Downloads
Issue
Section
Articles