ตัวอ่อนพยาธิใบไม้ระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดของประเทศไทย

Authors

  • พิสิษฐ์ สุนทราวิฑูร

Keywords:

ปลาน้ำจืด, เมตาเซอร์คาเรีย, พยาธิใบไม้, ประเทศไทย

Abstract

          พยาธิใบไม้ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เกิดจากการบริโภคปลาเป็นสาเหตุหลักของโรคพยาธิใบไม้ตับและลำไส้ของคน โดยคนติดเชื้อจากการบริโภคปลาน้ำจืดดิบหรือปรุงไม่สุกที่มีตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรีย ซึ่งในประเทศไทยพบตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลาน้ำจืดจำแนกออกเป็น 7 วงศ์ คือ Acanthostomidae, Diplostomidae, Echinostomatidae, Hemiuridae, Heterophyidae, Opisthorchiidae และ Clinostomidae ซึ่งตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียของพยาธิใบไม้ลำไส้กลุ่ม heterophyid เป็นกลุ่มปรสิตที่พบได้บ่อยที่สุดและมีจำนวนมาก ปลาน้ำจืดที่รายงานพบตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียมีประมาณ 64 ชนิด (16 วงศ์) โดยเฉพาะวงศ์ปลาตะเพียนคือโฮสต์กึ่งกลางที่สำคัญของพยาธิใบไม้ในสัตว์และคน ปัจจัยหลายอย่างที่อาจมีผลต่อความชุกของการติดเชื้อตัวอ่อนระยะเมตาเซอร์คาเรียในปลา ได้แก่ สภาพแวดล้อม ฤดูกาล ชนิดและจำนวนของพยาธิและโฮสต์กึ่งกลาง                Fish-borne zoonotic trematodes are major causes of liver and intestinal fluke diseases in humans. Human become infected by ingesting raw or undercooked freshwater fish containing metacercariae. In Thailand, the metacercariae found in freshwater fish are classified into 7 families, i.e., Acanthostomidae, Diplostomidae, Echinostomatidae, Hemiuridae, Heterophyidae, Opisthorchiidae, and Clinostomidae. Metacercariae of heterophyid fluke are among the most frequent and abundant parasites. About 64 species (16 Family) of freshwater fish have been reported as the metacercariae infection, especially the cyprinoid fish are important intermediate hosts of flukes that parasitize animals and humans. Many factors can affect the prevalence of metacercariae infection in fish, including the setting, season, type, and number of parasites and intermediate hosts. 

Downloads