กายวิภาคเปรียบเทียบและสมบัติเนื้อไม้วงศ์ถั่วสกุล Albizia 2 ชนิด ในประเทศไทย

Authors

  • เบญจวรรณ ชิวปรีชา
  • ฉัตรชัย เงินแสงสรวย
  • ประศาสตร์ เกื้อมณี

Keywords:

พืชวงศ์ถั่ว, กายวิภาคเนื้อไม้, สมบัติไม้

Abstract

ไม้ต้นวงศ์ถั่ว เจริญแพร่กระจายไปทั่วประเทศไทย ตลอดจนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลายชนิดเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะทางกายวิภาคและสมบัติทางฟิสิกส์และทางกลของไม้พื้นเมืองของไทย วงศ์ถั่ว (Fabaceae) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กางขี้มอด (Albizia odoratissima (L.f.) Benth.) และถ่อน (Albizia procera (Roxb.) Benth.) ที่เก็บตัวอย่างมาจากจังหวัดนครราชสีมา สระแก้ว และชลบุรี จัดเตรียมตัวอย่างด้วยอุปกรณ์ฝานชิ้นไม้ และกรรมวิธีการแช่ยุ่ย ศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และทดสอบไม้ ที่ความชื้น 12% หาความหนาแน่น และสมบัติทางกล ลักษณะเด่นประจำสกุลของไม้ Albizia เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแกมแดง เสี้ยนสน ค่อนข้างเป็นมันวาว วงปี ไม่ชัดเวสเซลแบบกระจาย พบทั้งเวสเซล เดี่ยวและแฝด บนผนังเวสเซลพบรอยเว้ามีขอบยื่น เรียงสลับ พาราเทรคีลพาเรงคิมาแบบปี กต่อ พาเรงคิมาตามยาวพบผลึกรูปปริซึม ภายในเรย์เซลล์พบสารสะสม ลักษณะที่แตกต่างของไม้ทั้ง 2 ชนิด ได้แก่ การจับกลุ่มของเวสเซล และจำนวนแถวของเรย์ความหนาแน่นของ กางขี้มอดและถ่อนมีค่า 0.69 และ 0.66 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร สัมประสิทธิ์การแตกหักของกางขี้มอดและถอนมีค่า 101.9 และ 143.5 เมกะ ปาสคาล สัมประสิทธิ์ยืดหยุ่นของกางขี้มอดและถ่อนมีค่า 7,645.3 และ 6,073.3 เมกะปาสคาล แรงอัดขนานเสี้ยนกางขี้มอด และถ่อนมีค่า 173.10 และ 99.63 เมกะปาสคาล แรงอัดตั้งฉากเสี้ยนกางขี้มอดและถ่อนมีค่า 80.41 และ 48.54 เมกะ ปาสคาล จากผลการทดสอบพบว่าไม้ทั้ง 2 ชนิด จัดอยู่ในชั้นคุณภาพ B ตามมาตรฐานการจัดชั้นความแข็งแรงของเนื้อไม้ โดยกรมป่าไม้The Fabaceae distributed throughout Thailand and South-East Asia. Many species are used as valuable timber. The focuses of this study were carried out to characterize the anatomy and properties of two indigenous tree species. The woods of Albizia odoratissima (L.f.) Benth. and Albizia procera (Roxb.) Benth., collected from Nakhon Ratchasima, Sa Kaeo and Chon Buri provinces, were cut by sliding microtome and maceration techniques. The woodspecimens were examined under light microscope (LM) and scanning electron microscope (SEM). Wood density and mechanical properties were determined by the condition of relative humidity at 12 %. The dominant anatomical characteristics of the Albizia showed the color of heartwood is reddish-brown. Wood surface are luster with interlocking grains. Growth rings are found indistinctly. Vessels diffuse with solitary and in groups of 2 and 3. The arrangement of intervessel pits are vesture alternately. Axial parenchymata appear in paratracheal, wing-aliform types. Prismatic crystals appear in a strand parenchyma chambered character. Some deposits contain in rays. The different characteristics of the two species are vessel grouping and ray cell numbers. In addition, the wood properties of two species, A. odoratissima and A. procera were reported respectively as follows: woods density (0.69 and 0.66 g/cm3.), modulus of rupture (101.9 and143.5 MPa), modulus of elasticity (7,645.3 and6.073.3 MPa), wood compression perpendicular to grain (80.41 and48.54 MPa), parallel compression to grain (173.10 and 99.63 MPa). As a result, they are considered B level in the quality of wood standard by Thai Royal Forestry Department

Downloads