ฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระและการจับตัวกับเหล็กของสารสกัดจากฟองน้ำทะเลไทย
Keywords:
ฟองน้ำ, การกำจัดอนุมูลอิสระ, การจับตัวกับเหล็กAbstract
ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากฟองน้ำทะเลไทย 23 ชนิด โดยเปรียบเทียบฤทธิ์การต้านอนุมูล อิสระด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด พบว่าสารสกัดด้วยเมธานอลออกฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH และการจับตัวกับเหล็กได้ดี ส่วนสารสกัดด้วยเมธานอลและอะซีโตนออกฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ ABTS ได้ดี และสารสกัดด้วยไดคลอโรมีเทนส่วนใหญ่ ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระน้อยที่สุด สารสกัดด้วยเมธานอลจากฟองน้ำ Hyrtios sp.1 มีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ ABTS และ DPPH ดีที่สุดที่ IC50 เท่ากับ 77.14 และ 228.9µg/ml และสารสกัดด้วยไดคลอโรมีเทนจากฟองน้ำ Stylissa sp. มีฤทธิ์จับตัวกับเหล็กดีที่สุดที่ IC50 เท่ากับ 159.4 µg/mlและยังพบว่าฟองน้ำ Hyrtios sp.1 มีปริมาณฟีนอลสูงที่สุดคือ 124.27± 3.73 mgGAE/กรัมสารสกัด ซึ่งคาดว่าฟีนอลในฟองน้ำชนิดนี้น่าจะทำหน้าที่ออกฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระTwenty-three samples of Thai marine sponges were evaluated for antioxidant activitiesby comparing the effect of three solvents on the antioxidant activities. Almost of methanolic extracts displayed high DPPH radical scavenging and ferrous chelating activity while methanolic and acetone extracts displayed high ABTS radical scavenging activity. Dichloromethane extracts almost displayed low antioxidant activities. The most significant ABTS and DPPH scavenging activity were determined for the methanolic extract from Hyrtios sp.1 at IC50 value of 77.14 and 228.9 µg/ml, respectively. The dichloromethane extract from Stylissa sp. had the most significant ferrous chelating activity at IC50 value of 159.4µg/ml. Hyrtios sp.1 had the highest phenol content at the value of 124.27±3.73 mgGAE/g of extract which supposed to perform its radical scavenging activitiesDownloads
Issue
Section
Articles