การศึกษาเบื้องต้นของคุณค่าทางอาหารของอาร์ทีเมียที่เสริมด้วยแพลงก์ตอนพืช และผลต่อการสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียว (Synchiropus splendidus Herre, 1927)

Authors

  • จารุนันท์ ประทุมยศ
  • สุพรรณี ลีโทชวลิต
  • ณิษา ศิรนนท์ธนา
  • ศิริวรรณ ชูศรี

Keywords:

อาร์ทีเมีย, คุณค่าทางอาหาร, การสืบพันธุ์, ปลาแมนดารินเขียว

Abstract

อาร์ทีเมียเป็นอาหารมีชีวิตที่ใช้เลี้ยงปลาแมนดารินเขียว Synchiropus splendidusซึ่งเป็นปลาที่มีพฤติกรรมการกินอาหารช้า แต่อย่างไรก็ตามขนาด และคุณค่าทางอาหารที่มีผลต่อการสืบพันธุ์ของปลาแมนดารินเขียว ควรต้องมีการศึกษา ทำการทดลองเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาแมนดารินเขียว (F1) เริ่มต้นอายุ 14 เดือนจำนวน 12 คู่ ในตู้กระจกบรรจุน้ำเค็ม 90 ลิตร กินอาหารทดลอง 4 ชนิดวันละ 2ครั้ง 1) อาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง 2)อาร์ทีเมียแรกฟัก 0.5 ตัว/มล/ครั้ง 3)อาร์ทีเมีย ผสมระหว่างตัวเต็มวัยและอาร์ทีเมียแรกฟัก อัตราส่วน 2 ตัว/ลิตร/ครั้ง: 0.5 ตัว/มล/ครั้ง และ 4)อาร์ทีเมียผสมระหว่างตัวเต็ม วัยและอาร์ทีเมียแรกฟัก อัตราส่วน 1 ตัว/ลิตร/ครั้ง:0.5 ตัว/มล/ครั้ง ทำการเลี้ยงอาร์ทีเมียด้วยสไปรูไลนาอบแห้งและเสริมสารอาหารอาร์ทีเมียทุกวันด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกันระหว่างTetraselmis gracilis และ Isochrysis galbana หรือ T. gracilis และ Nanochrolopsis oculata เป็นเวลา 1-3 ชม ผลการทดลองพบว่าอาร์ทีเมียแรกฟักมีโปรตีนและไขมันสูงกว่า อาร์ทีเมียตัวเต็มวัย อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยกินแพลงก์ตอนพืชผสม T. gracilis และ N. oculata มีโปรตีนสูงกว่าอาร์ทีเมียกิน T. gracilis และ I. galbana แต่อาร์ทีเมียเหล่านี้มีไขมันไม่แตกต่างกัน อาร์ทีเมียทั้งสองขนาดมีกรดไขมันที่จำเป็น ขนาดโซ่ยาว eicosapentaenoic acid 3% แต่ไม่มีกรดไขมัน docosahexaenoic acid อาร์ทีเมียตัวเต็มวัยที่กินแพลงก์ตอนพืชผสมมี arachidonic acid 1% แต่ไม่พบกรดไขมันชนิดนี้ในอาร์ทีเมียแรกฟัก ผลการทดลอง 9 เดือนพบว่าปลา S. splendidus 1 คู่ที่ กินอาร์ทีเมียตัวเต็มวัย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ออกไข่เมื่ออายุ 19 เดือน ปลาออกไข่ตัังแต่เดือนมิถุนายนถึง กันยายน ไข่ปลามีปริมาณ 48-253 ฟอง (ขนาดเฉลี่ย 0.78 ± 0.02 มม) จำนวนไข่ที่ได้รับการผสมพัฒนาและเป็นตัวอ่อน เพิ่มขึ้นตามจำนวนครั้งการออกไข่แสดงว่าการเสริมสารอาหารในอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยด้วยแพลงก์ตอนพืชผสมกันและให้ปลาแมนดารินเขียว (F1) อายุ 14 เดือน กินอัตราอย่างน้อย 3 ตัว/ลิตร/ครั้ง จำนวน 2 ครั้งต่อวันเป็นระยะเวลานาน 9 เดือน มีสารอาหารพอเพียงในการเลี้ยงปลา S. splendidus ในที่กักขังและปลาสามารถสืบพันธุ์ได้แต่อย่างไรก็ตามวิธีการเสริม สารอาหารในอาร์ทีเมียที่เหมาะสมควรทำการวิจัยต่อไปArtemia are used intensively for slow feeding species like the green mandarinfish, Synchiropus splendidus, however, the size and nutritional content of Artemia on their reproductive performance, requires determination. To investigate this, 12 pairs of 14-month old F1 progeny were maintained in glass aquaria containing 90L of seawater and fed twice daily on either: 1) adult Artemia (AA) at 3 individuals (ind.) L-1 ; 2) newly hatched Artemia (NHA) at 0.5 ind.mL-1 ; 3) mixtures of AA and NHA at a ratio of 2 ind.L-1 : 0.5 ind.mL-1 ; and 4) mixtures of AA and NHA at a ratio of 1 ind.L-1 : 0.5 ind. mL-1 , respectively. Maintained with dry Spirulina sp., Artemia were enriched daily with microalgae mixtures, i.e., either Tetraselmis gracilisand Isochrysis galbana or T. gracilis and Nanochrolopsis oculata. NHA contained higher protein and lipid levels than AA; the protein levels of AA fed mixed T. gracilis and N. oculata were high but their lipid levels were similar to that fed T. gracilis and I. galbana. All Artemia contained eicosapentaenoic acid (ca. 3%), but they lacked docosahexaenoic acid, while only AA fed mixed microalgae had ca.1% arachidonic acid. During the 9-month trial, only one pair of mandarinfish, reared on AA at 3 ind.L-1 , spawned at 19-months old. The pair subsequently spawned ten times throughout June-September; the number of eggs laid within each batch ranged from 48–253; average diameter of the eggs was 0.78±0.02 mm. Irrespective of the egg number within a batch, the number of fertilized eggs increased in successive batches indicating that application of microalgae-enriched AA at least 3 ind.L-1 , when presented to 14-month old green mandarinfish (F1) at least twice daily for 9 months, may provide sufficient nutrients to promote the reproduction of the green mandarinfish reared in captivity, although the enrichment methods require further investigation.

Downloads