การกระจายเชิงพื้นที่และเวลาของหอยปากเป็ด (Lingula anatina, Lamark, 1801) บริเวณหาดเลนแหลมผักเบี้ย: โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำาริ จังหวัดเพชรบุรี
Keywords:
การกระจายเชิงพื้นที่และเวลา, หอยปากเป็ด, หาดเลนแหลมผักเบี้ยAbstract
การศึกษาการกระจายเชิงพื้นที่และเวลาของหอยปากเป็ด (Lingula anatina, Lamark,1801) บริเวณหาดเลน แหลมผักเบี ้ย: โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรีในช่วง ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 โดยกำหนดจุดเก็บตัวอย่างหอยปากเป็ดบริเวณพื้นที่ หาดเลนแบ่งเป็น 10 แนวแต่ละแนวห่างกัน 100 เมตร ผลการศึกษาพบว่าหอยปากเป็ดอาศัยในดินตะกอนชนิดดินทราย แป้ง (Silt Loam) ที่ระดับความลึก 15 - 30 เซนติเมตร อนุภาคดินตะกอนประกอบด้วยดินทราย 19 เปอร์เซ็นต์ดินทราย แป้ง 68 เปอร์เซ็นต์ดินเหนียว 13 เปอร์เซ็นต์คลื่นและลมสงบ น้ำทะเลขึ้นลงแบบน้ำคู่ (Semidiurnal tide) ใช้เวลา มากกว่า 12 ชั่วโมง หาดเลนทำมุมลาดเอียง 5 - 20 องศา ปริมาณหอยปากเป็ดมีจำนวนทั้งหมด 5.44 ตัว/ตร.ม. เดือน กรกฎาคม 2555 มีพบมากที่สุดจำนวน 16.20 ตัว/ตร.ม.ฤดูฝนพบมากที่สุด จำนวน 25.50 ตัว/ตร.ม. ระยะห่างชายฝั่ง ทะเล 600 เมตร พบมากที่สุด 13.50 ตัว/ตร.ม. และไลน์ที่ L10 พบมากที่สุดมีจำนวน 8.10 ตัว/ตร.ม. การวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ปริมาณหอยปากเป็ดมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับค่าบีโอดี (BOD) (p<0.01) มีความสัมพันธ์ไปใน ทิศทางตรงกันข้ามกับค่าความเค็ม (p<0.01) และค่าความขุ่น (p<0.05)The study on spatial and temporal distribution of of Lamp shell (Lingula anatina, Lamark, 1801) in the Mudflat Area of Laem Phak Bia The King's Royally Initiated Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project, Phetchaburi Province was investigated during May 2012 to April 2013. Field collection of the Lamp shell were carried out by line transect sampling method; using 10 lines of a 100 meters transect (L1-L10). The result showed that the Lamp shell occur in silt loam sediment in the depth of 15 to 30 centimeters which composed of 19% sand 68% silt and 13% clay. Lamp shell, prefers clam wind and wave, semidiurnal tide with more than 12 hoursbeach exposed during lowest tide and, 5 - 20 degree slope. A total of 5.44 individuals /sq.m. of Lamp shell were obtained in this study. Our survey demonstrates that the highest number of the Lamp shell was 16.20 individuals/sq.m. in July 2012 and 25.50 individuals/sq.m. in the rainy season. At the distance of 600 meters off coast, the highest number of Lamp shell was 13.50 individuals /sq.m. Among ten transects, Lamp shellexhibited the highestabundance of 8.10individuals/sq.m. in Line 10 (L10). The correlation showed positively related to the water quality BOD (p<0.01). the correlation showed negatively related to the water quality salinity (p<0.01) and turbidity (p<0.05)Downloads
Issue
Section
Articles