การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบภาวะสารูปดีสำหรับการวิเคราะห์ภัยแล้ง

Authors

  • เพ็ญนภา หมื่นทา
  • มานัดถุ์ คำกอง
  • พุฒิพงษ์ พุกกะมาน

Keywords:

การวิเคราะห์ภัยแล้ง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการทดสอบภาวะสารูปดีสำหรับการวิเคราะห์ภัยแล้ง และประยุกต์ใช้ในการหาค่าดรรชนีความแห้งแล้งของฝนที่ต่างจากค่าปรกติในการประเมินระดับความแห้งแล้ง โดยการจำลอง ข้อมูลลักษณะการแจกแจงเบ้ขวาที่มีขนาดตัวอย่างและพารามิเตอร์แตกต่างกัน ด้วยวิธีการทดสอบภาวะสารูปดี 3วิธีได้แก่ สถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงก์ 2 AD สถิติทดสอบแอนเดอร์สัน-ดาร์ลิงก์ที่ปรับปรุงของ Ahmad2 วิธี 2 2 AL, AU และเกณฑ์การทดสอบ 2 เกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์ข้อสนเทศของอาไคเคะ AIC เกณฑ์ข้อสนเทศของเบย์ BIC ผลการวิจัย พบว่าจากการจำลองข้อมูล เมื่อการแจกแจงที่สนใจศึกษามี 2 พารามิเตอร์ เกณฑ์ AIC และ BIC เป็นวิธีที่เหมาะสม หากการแจกแจงที่สนใจศึกษามี 3 พารามิเตอร์ และค่อนข้างสมมาตร สถิติทดสอบ 2 AU จะมีประสิทธิภาพดีกว่า แต่หาก การแจกแจงที่สนใจศึกษามี 3 พารามิเตอร์ และมีความเบ้สูง สถิติทดสอบ 2 AL จะมีประสิทธิภาพดีกว่า ในส่วนของการประยุกต์ใช้กับข้อมูลจริงของสถานีตรวจวัดปริมาณฝนของอำเภอแม่พริกจังหวัดลำปาง พบว่า ปริมาณฝนตามฤดูกาลมีการ แจกแจงรีเวิร์สไวบูลล์เมื่อใช้สถิติทดสอบ 2 AL และเกณฑ์ AIC ในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังพบว่าอำเภอแม่พริกมีภาวะ ฝนแล้งรุนแรงมากที่สุด ในปี พ.ศ. 2502 2533 2547และ 2553This study aimed to compare the goodness of fit test and apply the standardized precipitation index to drought analysis. Data using in this study were positively skewed simulated with different sample size and parameters. On 3goodness of fit test and 2 critical including Anderson-Darlingtest 2 AD , Two Ahmad Modified Anderson-Darling test 2 2 AU, AL , Akaike Information Criterion AIC and Bayesian Information Criterion BIC. Results from the simulation study show that AIC and BIC was appropriate for two-parameter distribution data. For three-parameter distribution data Modified Anderson-Darling 2 AU was appropriate in case of highly symmetric distributed. Modified Anderson-Darling 2 AL was appropriate in case of highly skewed distributed data. Result from applying with real data, from rain gauging stations in Maepik district Lampang, Thailand, showed that seasonal rainfall was a Reverse Weibulldistributiondata which AIC and 2 AL were the most appropriate goodness of fit test. Moreover, we found that there was extremely drought in Maepikdistrict in 1959, 1990, 2004 and 2010.

Downloads