การพัฒนาโอโอไซต์ของปลาลิ้นหมา (Synaptura commersonii) เน้นที่โครงสร้าง Zona Radiata และเยื่อหุ้มไข่ ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

Authors

  • สันสุนีย์ หุ่นท่าไม้
  • อัมพร ทองกู้เกียรติกูล

Keywords:

ปลาลิ้นหมา, โซน่า, เรดิเอต้า, กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง, กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้าง zona radiata ในระยะต่างๆของการพัฒนาของโอโอไซต์ของ ปลาลิ้นหมา โดยเก็บตัวอย่างรังไข่ปลา แล้วรักษาสภาพด้วยสารละลายบูแอง นำตัวอย่างที่ได้ฝังในพาราฟินไปตัดที่มีความหนา 7 ไมโครเมตรและทาการย้อมด้วยสีฮีมาทอกไซลีนและสีอีโอซิน เพื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง หรือนาตัวอย่างเคลือบด้วยทองเพื่อศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่า โอโอไซต์ระยะ cortical alveoli เริ่มมี zona radiata หุ้มเป็นชั้นบาง หนาประมาณ 2.0-2.8 ไมโครเมตร และ zona radiata หนามากที่สุดในระยะ vitellogenesis หนาประมาณ 4-6 ไมโครเมตร มีลายตามขวาง ผิวด้านนอกของ zona radiata มีรูจานวนมาก ไข่ปลาลิ้นหมามีลักษณะกลม ผิวด้านนอกเป็นสันนูน และมีรูจานวนมากเรียงอย่างเป็นอย่างระเบียบ ไข่ปลาลิ้นหมามีเพียง 1 ไมโครไพล์เป็นชนิดที่ 3

Downloads