การวิเคราะห์คุณลักษณะของคลื่นและการเปลี่ยนแปลงของแนวชายหาด ตำบลเขารูปช้างจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2558 และ 2559

Authors

  • จิตราภรณ์ ฟักโสภา
  • ปราโมทย์ โศจิศุภร

Keywords:

ความสูงคลื่น, การเปลี่ยนแปลง, ชายฝั่งสงขลา, ลมมรสุม, waveheight, shoreline changes, Songkhla, monsoon

Abstract

          พื้นที่ชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดสงขลา ได้รับความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่งเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาคุณลักษณะของคลื่นและการเปลี่ยนแปลงของแนวชายหาดตามฤดูกาล บริเวณตำบลเขารูปช้าง จังหวัดสงขลา ในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558) และช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของลมมรสุมที่มีต่อลักษณะของคลื่นและการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่ง พบว่าในช่วงลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ความสูงคลื่นนัยสำคัญอยู่ในช่วง 0.61– 0.89 เมตร (ค่าเฉลี่ย 0.79เมตร) และความสูงคลื่นสูงสุด 0.66 เมตร ถือว่าคลื่นที่ตรวจวัดได้มีขนาดปานกลาง คาบคลื่นอยู่ในช่วง 5.13– 6.00 วินาที เมื่อเข้าสู่ช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ความสูงคลื่นนัยสำคัญอยู่ในช่วง 0.034 – 0.182 เมตร (ค่าเฉลี่ย 0.074 เมตร) และความสูงคลื่นสูงสุด 0.11 เมตร ถือว่าคลื่นที่ตรวจวัดได้มีขนาดเล็ก คาบคลื่นอยู่ในช่วง 3.36– 5.16 วินาที ซึ่งจะเห็นว่าคลื่นในบริเวณนี้ เป็นคลื่นที่เกิดขึ้นจากลมในพื้นที่ทั้งสองช่วงลมมรสุม สำหรับการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีความชันของชายหาดมากกว่าในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นั่นหมายความว่าในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเป็นช่วงที่เกิดการกัดเซาะของชายหาด แต่อย่างไรก็ตามตะกอนเหล่านั้นก็จะถูกพัดพามาสะสมในบริเวณนี้อีกครั้งในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ดังนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่าลักษณะของคลื่นและการเปลี่ยนแปลงของชายหาดขึ้นอยู่กับอิทธิพลของลมมรสุม           This study aims to study wave characteristics and shoreline changes during two seasons in Northeast monsoon (December 2015) and Southwest monsoon (June 2016), at Tumbon Kao Roop Chang, Songkhla Province. The results showed that the monsoonal wind played an important role on wave characteristics and shoreline changes. During Northeast Monsoon, the significant wave height was about 0.61–0.89 m (0.79 m in average)and the maximum wave height was 0.66 m with 5.13 – 6.00 seconds in period. While during Southwest Monsoon the significant wave height was about 0.034 – 0.182 m (0.074 m in average) and the maximum wave height was 0.11 m with 3.36 – 5.16 seconds in period. These results demonstrated that both waves were generated by local wind. For the shoreline changes, the Northeast monsoon had a greater impact than Southwest monsoon. During Northeast monsoon, the beaches were essentially erosional. In contrast, the beaches were accretion and also berms feature were found during the southwest monsoon.

Downloads