ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดสจากสมองหมูของพืชสมุนไพรไทยบางชนิด

Authors

  • โสภา นิลเทศ
  • วริษฐา ปุลาสะกา
  • ปณิดา ดวงแก้ว
  • เอกรัฐ ศรีสุข
  • พรพิมล รงค์นพรัตน์
  • ทรงกลด สารภูษิต

Keywords:

โมโนเอมีนออกซิเดส, โมโนเอมีนออกซิเดสเอ, โมโนเอมีนออกซิเดสบี, การยับยั้ง, พืชสมุนไพรไทย

Abstract

          ในปัจจุบันโรคทางระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า และโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่พบมากขึ้น โดยสาเหตุหนึ่งที่สำคัญเกิดจากการทำงานของเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (monoamine oxidase : MAO) ในสมองทั้ง 2 ไอโซฟอร์ม คือ MAO-A และ MAO-B ย่อยสลายสารสื่อประสาทมากเกินไป นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ข้างเคียงไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2 ) ยังส่งผลให้เกิดกระบวนการลิพิดเปอร์ออกซิเดชันที่ร่วมส่งผลให้เกิดโรคทางสมองดังกล่าวมากขึ้น วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาระบบตรวจสอบการยับยั้งเอนไซม์ MAO ของสารสกัดจากสมุนไพรไทยโดยใช้สารละลายเอนไซม์ MAO จากสมองหมู (Sus domesticus) ด้วยวิธี ABTS assay           ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากสมองหมูสามารถเร่งปฏิกิริยาการย่อยสลายสารตั้งต้น p-tyramine และสารสกัดหยาบโกฐน้ำเต้าออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO-B ดีที่สุดด้วยค่า IC50 18.26 µg/ml ส่วนสารสกัดหญ้าหมอน้อยออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ MAO-A ดีที่สุดด้วยค่า IC50 3.53µg/ml           Nowadays, the number of neurological disease patients, such as depression, attention deficit disorder, and Parkinson's disease has been increasing. Monoamine oxidase (MAO) enzyme, both is forms; MAO-A and MAO-B, have been reported as important therapeutic targets of these neurological diseases. Excess MAO mediates serotonin and dopamine metabolism leading to decreased levels of these neurotransmitters. In addition, lipid- peroxidation by the metabolic product of this neurotransmitter metabolism, the hydrogen peroxide (H2O2), was proposed as another factor that could facilitate the progression of degenerative brain tissue in patients. This study aims to develop an ABTS assay method to screen the extracts from Thai herbal that can inhibit MAO activity presence in pig (Sus domesticus) brain lysate. The results showed that the pig brain homogenate can metabolized p-tyramine substrate and the extracts from Rheum palmatum L. can inhibited pig brain MAO-B with an IC50 value of 18.26µg/ml, while those of Vernonia cenerea can inhibited pig brain MAO-A with an IC50value of 3.53µg/ml.

Downloads