ตัวแบบปริมาณการสั่งซื้อสินค้าแบบประหยัดที่มีสินค้าชำรุดภายใต้ การซ่อมแซมสินค้าและการตรวจสอบสินค้าผิดพลาด
Keywords:
ตัวแบบ EOQ, สินค้าชำรุด, ค่าคลาดเคลื่อนของการตรวจสอบ, การคัดแยกผิดพลาด, การซ่อมแซมAbstract
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ขยายตัวแบบปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัดไปสู่กรณีที่มีสินค้าชำรุดในลอตของสินค้า โดยกำหนดให้มีกระบวนการตรวจสอบสินค้า 100% ในการตรวจสอบสินค้าอาจมีค่าคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นถึงแม้ว่ามีการตรวจสอบสินค้า 100% จึงทำให้เกิดการคัดแยกสินค้าผิดพลาด ซึ่งแบ่งได้เป็นสองกรณี คือ กรณีที่ 1 คัดแยกสินค้าที่ไม่ชำรุดเป็นสินค้าชำรุด กรณีที่ 2 คัดแยกสินค้าชำรุดเป็นสินค้าที่ไม่ชำรุด นอกจากนี้สินค้าที่ชำรุดถูกคัดแยกเป็นสินค้าชำรุด จะถูกนำไปซ่อมแซมและนำกลับเข้าสู่คลังสินค้าเมื่อคลังสินค้าไม่มีสินค้าเหลืออยู่ การศึกษานี้ได้หานโยบายเหมาะสมที่สุดที่มีขนาดการสั่งซื้อสินค้าเหมาะสมที่สุด และผลกำไรรวมคาดหมายต่อหน่วยเวลาสูงสุด พร้อมทั้งมีการแสดงตัวอย่างเชิงตัวเลข และการวิเคราะห์ความไว In this study, an economic order quantity (EOQ) model is extended to the case of imperfect items in a product lot. A 100% inspection process of the lot is conducted. An inspection error can occur despite a 100% inspection. From which, the misclassification is occurred that consists of two cases: (i) classifying non-defective items as defective, (ii) classifying defective items as non-defective. Moreover, for classifying defective items as defective, these defective items are sent to repair and will be returned to inventory when items in inventory are empty. This study is to determine the optimal policy with optimal order size and maximum expected total profit per unit of time. A numerical example and sensitivity analysis are exemplified.Downloads
Issue
Section
Articles