อันตรายทางกายภาพในอาหาร

Authors

  • สุคันธา โอศิริพันธุ์

Keywords:

อันตรายทางกายภาพ, วัตถุแปลกปลอม, ระบบการจัดการ, ด้านความปลอดภัยอาหาร

Abstract

          สิ่งแปลกปลอมชนิดอันตรายทางกายภาพที่พบในอาหารเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ผู้บริโภคร้องเรียนต่อโรงงานอาหาร ทั้งยังสะท้อนถึงข้อบกพร่องด้านคุณภาพที่ส่งผลต่อชื่อเสียง ตราสินค้าของโรงงานอาหาร ความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และความปลอดภัยอาหาร ซึ่งสิ่งแปลกปลอมที่แข็งและคม เช่น หิน ชิ้นส่วนโลหะมีคม และกระดูกล้วนก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภคที่ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่บริโภคโดยตรงจากบรรจุภัณฑ์เช่น เครื่องดื่มพร้อมบริโภค ขนมหวาน และไอศกรีม ทั้งนี้แหล่งของอันตรายทางกายภาพที่พบระหว่างกระบวนการผลิตอาหารอาจมาจากวัตถุดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตอาหาร และความผิดพลาดในโปรแกรมสุขลักษณะพื้นฐานเบื้องต้น ดังนั้น เพื่อป้องกันและลดโอกาสการปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมลงสู่อาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจึงปฏิบัติได้โดยการประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) และการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ในการผลิตอาหาร           Foreign bodies named Physical hazards contaminated in foods are a major reason for consumer complaints. In food industry, the foreign bodies represent either a quality defect affecting company and brand reputation or a food safety hazard. Hard and sharp foreign bodies such as stones, sharp metal pieces, and bones can lead to serious illness. Moreover, there are an emotive subject for consumers and should be given special attention, especially, product is consumed directly from the packaging (e.g. ready to drink, confectionary, ice cream). The sources of physical hazards during food processing are incoming raw materials, food processing equipment, and failures in prerequisites programs. To prevent and reduce foreign bodies contamination and protect the consumer, it can be established by applying Good Manufacturing Practice (GMP) and Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) in food production

Downloads